Page 259 - kpiebook67020
P. 259
258 การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต
ยังคงเป็นเรื่อง “ความอยุติธรรม” และ “ความเหลื่อมล�้า” ท�าให้เกิดความรู้สึก
เกลียดชังรัฐแพร่กระจายไปในกลุ่มคนหลายกลุ่มในพื้นที่ และสิ่งส�าคัญที่สุดของ
การอ�านวยกระบวนการยุติธรรมที่ไม่เหลื่อมล�้า คือประชาชนเข้าถึงง่าย สะดวก
ปลอดภัย และประหยัด แต่ค�าถามคือการเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมที่ชายแดนใต้
มีความปลอดภัยของผู้ที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมหรือไม่ กระบวนการจ่ายเงิน
เยียวยา 4 ล้าน และ 7 ล้าน เมื่อไปถามแล้วได้รับค�าตอบว่าไม่ใช่การเยียวยาที่แท้จริง
แต่การได้ตัวเจ้าหน้าที่ที่รับผิดกับการละเมิดสิทธิต่างหาก คือการเยียวยาที่แท้จริง
ปัญหาความเหลื่อมล�้าในกระบวนการยุติธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้
ยังคงด�ารงอยูในปัจจุบัน เช่น การฆ่านอกระบบกฎหมาย การวิสามัญฆาตกรรม
และ ศาลเตี้ย ทั้งสามค�านี้เป็นรูปแบบของการละเมิดสิทธิในชีวิตที่ร้ายแรง รวมทั้ง
การเสียชีวิตในระหว่างการควบคุมตัวก็เป็นการละเมิดสิทธิในชีวิตอีกรูปแบบหนึ่ง
ตัวอย่างเช่น ระหว่างปีพ.ศ. 2553-2559 ผู้ต้องหาคดีความมั่นคงหรือผู้ที่ถูกควบคุมตัว
ด้วยกฎหมายพิเศษในจังหวัดชายแดนใต้กังวลใจมากที่สุดคือ ความปลอดภัยหลังจาก
ได้รับการปล่อยตัว โดยข้อมูลได้จากกลุ่มด้วยใจที่ได้รวบรวมรายชื่ออดีตผู้ต้องหา
คดีความมั่นคง ผู้ที่ถูกควบคุมตัวด้วยกฎหมายพิเศษ และบุคคลในครอบครัว ที่ถูกยิง
ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 จนถึง ปี พ.ศ. 2559 ว่ามีจ�านวน 20 ราย
โดยเฉลี่ยปีละ 4 ราย ในช่วงเวลานั้น และด้วยสถานการณ์เช่นนี้ก็เป็นสถานการณ์
ที่เพิ่มความหวาดระแวงและไม่มั่นใจในกระบวนการยุติธรรมของประเทศ มักเป็น
การลอบสังหารโดยไม่สามารถระบุตัวผู้กระท�าความผิดได้ และเกือบทุกกรณีเป็นการ
ลอบสังหารอดีตผู้ต้องขังที่ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจ�า (มูลนิธิผสานวัฒนธรรม,
2565)