Page 258 - kpiebook67020
P. 258
257
และบุคคลผู้มีบทบาทส�าคัญกับการผลักดันนโยบายจ่ายเยียวยาย้อนหลังอัตราใหม่ให้
“เหยื่อกรือเซะ” ก็คือ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการ ศอ.บต. ในขณะนั้น กล่าวได้ว่า
เหตุการณ์กรือเซะ เป็นอดีตที่เป็นบาดแผลและละเอียดอ่อนในการจะกล่าวถึง
ซึ่งต้องยอมรับว่า ประวัติศาสตร์หรืออดีตเป็นสมบัติของมนุษยชาติทุกคนที่เราไม่สามารถ
ย้อนกลับได้ อดีตจึงเป็นบทเรียนที่ทรงคุณค่าที่ทันสมัยอยู่เสมอ อดีตนั้นเราแก้ไขไม่ได้
ส่วนปัจจุบันและอนาคตเราท�าให้ดีได้โดย ‘อดีตที่เป็นความผิดพลาดจะต้องไม่เกิดขึ้นซ�้า
กับเราอีก และถ้าจะให้ดียิ่งกว่าความผิดพลาดในอดีตที่เกิดกับผู้อื่น ก็จะต้องไม่เกิดขึ้น
กับเราเช่นกัน ทวี สอดส่อง ได้อธิบายไว้ว่า “หัวใจของการแก้ปัญหาความขัดแย้งและ
การปกครอง คือความเป็นธรรม หรือ ‘ความเป็นธรรมน�าการเมืองและการทหาร’
ในส่วนของประชาชน การให้ความเป็นธรรม การมีศักดิ์ศรี การยอมรับในอัตลักษณ์
และวิถีชีวิตเป็นสิ่งส�าคัญ ความยุติธรรมจะท�าให้เกิดการเปลี่ยนผ่านจากความขัดแย้ง
ไปสู่สันติภาพ และต้องเสริมด้วยการให้ความช่วยเหลือเยียวยาอย่างครอบคลุม
มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งทางด้านจิตใจ ทรัพย์สินอย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง”
และหลักของความสมานฉันท์ต้องเริ่มต้นจากการพูดความจริง’ คือความเห็นของ
อานันท์ ปันยารชุน ใน พ.ศ. 2547 ซึ่งขณะนั้นด�ารงต�าแหน่งประธานคณะกรรมการ
อิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) โดยอดีตจะหมดสถานะเป็นระเบิดเวลา
ทันที เมื่ออดีตไม่เกี่ยวโยงกับปัจจุบัน แต่ถ้าอดีตยังคงเชื่อมโยงและส่งผลกับปัจจุบัน
ไม่ทางใดทางหนึ่ง ย่อมไม่มีทางที่คนจะหยุดคิดถึงอดีต ซึ่งเป็นการตอกย�้าความคิด
เรื่องเหตุการณ์กรือเซะว่า เป็นการกระท�าซ�้าความรุนแรงจากความไม่ยุติธรรมในอดีต
มาถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคที่ผู้น�าทางทหารซึ่งคุมสถานการณ์ชายแดนใต้
และการให้น�้าหนักเรื่อง “ภัยแทรกซ้อน” และ “กลุ่มอิทธิพล” เป็นปัจจัยส�าคัญ
ที่ท�าให้ปลายด้ามขวานลุกเป็นไฟ แต่ในแง่ทฤษฎีและการศึกษาความเป็นไป ตลอดจน
ข้าราชการบางส่วนที่เคยสัมผัสพื้นที่แบบไม่ได้ถือปืน กลับเห็นว่ารากเหง้าของปัญหา