Page 253 - kpiebook67020
P. 253

252  การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต




        ความขัดแย้ง อย่างไรก็ตาม กระบวนการแก้ไขและคลี่คลายความขัดแย้งและ

        ความรุนแรงมักจะเน้นในเรื่องเฉพาะหน้าให้ win-win situationเท่านั้นโดยใช้วิธีการ
        เช่น การไกล่เกลี่ย การเจรจาสันติภาพ ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมใช้แก้ปัญหาเฉพาะหน้า
        เพื่อหลีกเลี่ยงการแก้ปัญหาที่หยั่งลึกที่รากเหง้า การเปลี่ยนแปลงแก้ไขวิกฤตที่ยั่งยืน

        แท้จริงแล้วคือ การแปลงเปลี่ยนที่รากเหง้าความขัดแย้งเพื่อลดความรุนแรง เช่น

        เปลี่ยนโครงสร้าง วัฒนธรรมบางอย่างที่เป็นสาเหตุแห่งความขัดแย้ง รวมทั้ง
        การเปลี่ยนแปลงวิธีคิด มุมมอง และบางครั้งจ�าเป็นต้องเปลี่ยนโครงสร้างอ�านาจสังคม
        ให้ได้สมดุล และรวมไปจนถึงการค�านึงถึงหลักนิติรัฐ นิติธรรมที่ตั้งมั่นอยู่ในหลักการ

        และเหตุผลที่ถูกต้องเที่ยงธรรม


               โดยกรณีศึกษาในส่วนนี้ เป็นการศึกษาวิเคราะห์ประเด็นความเหลื่อมล�้า
        ในกระบวนการยุติธรรมใน 3 กรณีศึกษาด้วยกัน คือ


               •  ความเหลื่อมล�้าในกระบวนการยุติธรรม กรณีปัญหากรือเซะ - ตากใบ
                   จากอดีตสู่เหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้


               •  ความแตกต่างทางอุดมการณ์ทางการเมืองของคนรุ่นใหม่กับการเลือกปฏิบัติ
                   ในกระบวนการยุติธรรม


               •  กระบวนการยุติธรรม : การสอบสวนคดีอาญาเพื่ออ�านวยความยุติธรรม
                   แก่สังคม


               สถาบันพระปกเกล้าเป็นสถาบันทางวิชาการภายใต้ก�ากับของรัฐสภา
        ซึ่งมีบทบาทส�าคัญในการศึกษาวิจัยทางด้านการเมืองการปกครอง การศึกษาวิจัย

        การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธีและธรรมาภิบาล และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
        การศึกษาเครื่องมือเพื่อลดความเหลื่อมล�้าและกระบวนการค้นหาแนวทางการสร้าง
   248   249   250   251   252   253   254   255   256   257   258