Page 255 - kpiebook67020
P. 255
254 การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต
ที่มีการก�าหนดให้เป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลหลายชุดที่ผ่านมา แต่เนื่องจากเป็น
ปัญหาที่ละเอียดอ่อน มีความสลับซับซ้อน อีกทั้งเป็นปัญหาเรื้อรังที่ยังคงมีความรุนแรง
อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ท�าให้การแก้ไขปัญหา เป็นไปด้วยความยากล�าบาก และ
ยังไม่มีท่าทีว่าจะยุติลงได้โดยง่าย ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติท�าให้เกิด
ความสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินเป็นจ�านวนมาก ดังนั้นแต่ละรัฐบาลที่ผ่านมาจึงเห็น
ความส�าคัญและความจ�าเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการทบทวนและเปลี่ยนแปลงนโยบาย
ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งภาครัฐและภาคส่วนต่าง ๆ
ได้มีความพยายามด�าเนินการแก้ไขปัญหา ตามกรอบนโยบายมาแล้วหลายฉบับ
ส่งผลให้สถานการณ์และปัญหาความรุนแรง ได้รับการแก้ไขไปในทิศทางที่ดีขึ้น
แต่อย่างไรก็ตามการแก้ไขปัญหาที่รากเหง้าความขัดแย้งรุนแรงอาจจะต้องลง
ประเด็นในระดับลึก และการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็น
เรื่องความเหลื่อมล�้าในกระบวนการยุติธรรมจากกรณีปัญหากรือเซะ-ตากใบ อันเป็น
ชนวนน�ามาซึ่งความขัดแย้งรุนแรงในรอบใหม่
การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล�้าในกระบวนการยุติธรรมได้รับก�าหนด
แนวปฏิบัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ.2560 ไว้ในหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ
ในมาตรา 258 (ข) ด้านกระบวนการยุติธรรม มีสาระส�าคัญที่เป็นแนวทาง
ที่ควรน�าไปปฏิบัติเพื่อลดความเหลื่อมล�้า ที่ส�าคัญ ได้แก่ (1) ให้มีการก�าหนดระยะเวลา
ด�าเนินงานในทุกขั้นตอนของ กระบวนการยุติธรรมที่ชัดเจนเพื่อให้ประชาชนได้รับ
ความยุติธรรมโดยไม่ล่าช้า และมีกลไกช่วยเหลือประชาชนผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์
ให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้รวมตลอดทั้งการสร้างกลไกเพื่อให้มีการบังคับการ
ตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อลดความเหลื่อมล�้าและความไม่เป็นธรรมในสังคม
(2) ปรับปรุงระบบการสอบสวนคดีอาญาให้มีการตรวจสอบและถ่วงดุลระหว่างพนักงาน
สอบสวนกับพนักงานอัยการอย่างเหมาะสม ก�าหนดระยะเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ของ