Page 21 - kpiebook67020
P. 21

20  การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต



                             บทสรุปผู้บริหำร


















               เนื่องจากสถานการณ์ในประเทศต้องประสบกับภาวะวิกฤตทางสังคม

        (Social Crisis) เกิดขึ้นหลายกรณี อันมีความขัดแย้งเกิดขึ้นในหลายภาคส่วน เช่น
        สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ความขัดแย้งทางการเมืองที่ยืดเยื้อ

        เรื้อรัง ทุจริตคอร์รัปชัน กระบวนการยุติธรรม การแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม
        ความเหลื่อมล�้าด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ข้อมูลข่าวสารที่มีปัญหา เป็นต้น

        สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้อาจเป็นปัญหาที่จะน�าไปสู่ความรุนแรงเชิงโครงสร้าง (Structural
        Violence) และกลายเป็นวิกฤตทางสังคมในระยะยาว นิยามของค�าว่าวิกฤตสังคม

        หมายความว่าภาวะที่การด�าเนินชีวิตของผู้คนในสังคมอยู่ในภาวะอันตราย เป็นรูปแบบ
        ที่มีความแตกต่างจากสถานการณ์ปกติ หากเกิดวิกฤตสังคมแล้วจะน�าไปสู่การตัดสินใจ

        หรือเหตุการณ์หรือการด�าเนินการที่เป็นจุดเปลี่ยน แล้วอาจท�าให้เกิดผลที่ดีขึ้นหรือ
        แย่ลงจากเดิมก็ได้


               ดังนั้น การศึกษาประเด็นที่อาจน�าไปสู่วิกฤตทางสังคมจึงมีความส�าคัญ
        เพื่อเป็นแนวทางในการเปิดพื้นที่ทางสังคมในการแสวงหาแนวทางป้องกันวิกฤต

        ทางสังคมที่จะเกิดขึ้น และเป็นการเปิดพื้นที่สื่อสารท�าความเข้าใจของแต่ละฝ่าย
        ตลอดจนสามารถแปรเปลี่ยนให้เงื่อนไขที่อาจท�าให้เกิดวิกฤตสังคมกลับกลายเป็นพลัง
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26