Page 26 - kpiebook67020
P. 26
25
ระหว่างปีพ.ศ. 2553- 2559 ผู้ต้องหาคดีความมั่นคงหรือผู้ที่ถูกควบคุมตัวด้วยกฎหมาย
พิเศษในจังหวัดชายแดนใต้กังวลใจมากที่สุดคือ ความปลอดภัยหลังจากได้รับการปล่อยตัว
โดยข้อมูลได้จากกลุ่มด้วยใจที่ได้รวบรวมรายชื่ออดีตผู้ต้องหาคดีความมั่นคง ผู้ที่ถูก
ควบคุมตัวด้วยกฎหมายพิเศษ และบุคคลในครอบครัว ที่ถูกยิงได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 จนถึง ปี พ.ศ.2559 ว่ามีจ�านวน 20 ราย โดยเฉลี่ยปีละ 4 ราย
ในช่วงเวลานั้น และด้วยสถานการณ์เช่นนี้ก็เป็นสถานการณ์ที่เพิ่มความหวาดระแวง
และไม่มั่นใจในกระบวนการยุติธรรมของประเทศ มักเป็นการลอบสังหารโดยไม่สามารถ
ระบุตัวผู้กระท�าความผิดได้ และเกือบทุกกรณีเป็นการลอบสังหารอดีตผู้ต้องขัง
ที่ได้รับการปล่อยตัวจากเรือนจ�า
วิเคราะห์รากเหง้าความเหลื่อมล�้าในกระบวนการยุติธรรมในสนับสนุนน
วิกฤตการณ์กรือเซะ-ตากใบ และน�ามาสู่ปัญหาความไม่สงบในปัจจุบัน
1) สาเหตุหลักของความเหลื่อมล�้าของกระบวนการยุติธรรมในจังหวัด
ชายแดนใต้
ในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมากว่า 18 ปี ที่ได้มีการบังคับใช้พระราชก�าหนด
การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
มีหลายฝ่ายทั้งนักวิชาการ นักสิทธิมนุษยชน รวมถึง ประชาชนในพื้นที่ตั้งข้อสังเกตว่า
กฎหมายในสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวมีลักษณะให้อ�านาจแก่เจ้าหน้าที่รัฐ มากกว่า
กฎหมายปกติในการรักษาความสงบเรียบร้อยเพื่อแก้ไขสถานการณ์ความรุนแรงให้ยุติ
ลงโดยเร็ว ซึ่งในบางกรณีหรือบางเหตุการณ์เจ้าหน้าที่รัฐถูกกล่าวหาว่ากระท�าการอันมี
ลักษณะรุนแรงเกินความจ�าเป็น ไม่สมควรแก่เหตุ เป็นการกระท�าละเมิดสิทธิมนุษยชน
และส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน