Page 27 - kpiebook67020
P. 27

26  การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต




               2) สาเหตุย่อยของความเหลื่อมล�้าของกระบวนการยุติธรรมในจังหวัด

        ชายแดนใต้

               ความเหลื่อมล�้ามิติอื่น ๆ ในจังหวัดชายแดนใต้ การก�าหนดนโยบายเรื่อง

        พหุวัฒนธรรมในพื้นที่ สะท้อนถึงความไม่เข้าใจการลงไปปฏิบัติเรื่องพหุวัฒนธรรมพื้นที่
        อย่างแท้จริง การเจรจาที่ไม่มีสัญญานความจริงใจ จริงจัง จากฝ่ายการเมือง ซึ่งท�าให้การ

        แก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนใต้ไม่ได้รับการดูแลแก้ไขอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ปัญหา
        ความไม่สงบในชายแดนใต้มีปัญหาที่ซับซ้อน เช่น ปัญหาความเหลื่อมล�้าทางเศรษฐกิจ

        และสังคมในจังหวัดชายแดนใต้ และปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนในพื้นที่ เป็นต้น

               3) ตัวเร่งปฏิกิริยาของวิกฤตของวิกฤตการณ์ความเหลื่อมล�้าของกระบวนการ

        ยุติธรรมในจังหวัดชายแดนใต้

               ความขัดแย้งอัตลักษณ์ (Identity conflict) ในจังหวัดชายแดนใต้มีลักษณะ

        เฉพาะทางศาสนาและชาติพันธุ์ในพื้นที่ คือ ศาสนาอิสลาม ภาษามลายู และประวัติศาสตร์
        ปัตตานี สิ่งเหล่านี้เป็นเงื่อนไขในสังคมซึ่งท�าหน้าที่ให้ความชอบธรรมกับการใช้ความรุนแรง

        หรือท�าให้ผู้คนไม่น้อยยอมรับหรือเห็นด้วยกับฝ่ายที่ใช้ความรุนแรงทั้งหมดนี้ท�าให้
        ผู้ก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อาศัยเงื่อนไขทางชาติพันธุ์ผสานกับ

        ศาสนามาเป็นข้ออ้างให้ความชอบธรรมกับการใช้ความรุนแรงในการต่อสู้เพื่อเป้าหมาย
        ของตนในนามของอัตลักษณ์ความเป็นมลายูมุสลิม อีกทั้งปัญหาด้านภาษาและ

        การสื่อสารที่ไม่เข้าใจกันในเรือนจ�า เช่น เจ้าหน้าที่ไม่มีความสามารถด้านภาษามลายู
        ที่ผู้ต้องขังใช้สื่อสารกันและใช้สื่อสารกับญาติ มีปัญหาเกี่ยวกับการตรวจจดหมาย

        ที่ผู้ต้องขังไม่สามารถและ/หรือไม่ยอมเขียนจดหมายเป็นภาษาไทย อาจจะเนื่องจาก
        ไม่สามารถเขียนภาษาไทยและ/หรือญาติไม่สามารถอ่านภาษาไทยได้ อาจจะท�าให้เกิด

        ปัญหาความไม่ไว้วางใจ
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32