Page 28 - kpiebook67020
P. 28
27
ความเสี่ยงและปัจจัยเร่งในการเร่งปฏิกิริยาความรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้
1) การท�างานของภาครัฐด้านกระบวนการยุติธรรมที่ไม่อ�านวยความยุติธรรม
และความเป็นธรรมอย่างแท้จริง
2) บริบททางสังคมที่ยังไม่มีความไว้วางใจในกระบวนการยุติธรรม เช่น รอยแผล
ความทรงจ�าในประวัติศาสตร์ ภาษาที่ใช้สื่อสารระหว่างคนในพื้นที่กับเจ้าหน้าที่รัฐ
3) กฎหมายพิเศษในพื้นที่ที่ยังคงด�ารงอยู่โดยอ้างความมั่นคง
แนวทางการแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์สังคมในกรณีความเหลื่อมล�้า
ในกระบวนการยุติธรรมของพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้
1) การปรับกฎหมายของการบังคับใช้ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ให้สอดคล้อง
กับความจ�าเป็นที่เป็นอยู่จริงในพื้นที่เป็นส�าคัญ โดยมีเป้าหมายให้คดีความมั่นคงในพื้นที่
3 จังหวัดชายแดนใต้อยู่ภายใต้กฎหมายปกติ
2) การบังคับใช้กฎหมายที่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญหลักการสากลและ
หลักนิติธรรมต่อผู้ต้องสงสัย ผู้ต้องหาหรือจ�าเลยในคดีความมั่นคง
3) สร้างกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์เพื่อการเปลี่ยนผ่านอย่างยั่งยืน
โดยมุ่งเน้นให้เกิดการชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้น การแก้ไขฟื้นฟู และน�าทุกฝ่าย
กลับเข้าสู่สังคมและอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขและสมานฉันท์
4) การใช้กระบวนการพูดคุยสมานฉันท์ในการขับเคลื่อนทุกระดับ โดยเฉพาะ
การท�าความเข้าใจกับวัฒนธรรมและมายาคติแต่ละมิติในพื้นที่