Page 30 - kpiebook67020
P. 30
29
อันมีมูลเหตุมาจากแรงจูงใจทางการเมือง และสังคมเริ่มตั้งค�าถามถึง “ความไม่ปกติ”
ของกระบวนการยุติธรรมที่เกิดขึ้นจากการด�าเนินคดีที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม
ทั้งการด�าเนินคดีด้วยข้อหาร้ายแรง การคุมขังผู้ต้องหาก่อนที่ศาลจะมีค�าพิพากษา
เป็นระยะเวลานานและไม่อนุญาตให้ประกันตัว
สังคมจึงได้เห็น “ความอยุติธรรม” ที่เกิดขึ้นจากการด�าเนินคดีกับผู้ชุมนุม
ม็อบการเมืองนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นมา โดยพัฒนาการของการเคลื่อนไหว
ของม็อบการเมือง หมุดหมายแรกที่น�าไปสู่การจุดชนวนการเคลื่อนไหวของม็อบ
การเมืองคนรุ่นใหม่ คือ ค�าวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563
ที่วินิจฉัยยุบพรรคอนาคตใหม่ ภายหลังจากนั้นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นทันทีคือการเกิดขึ้น
ของ “แฟลชม็อบ” ในหมู่นักเรียนนักศึกษาในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ
และการชุมนุมอื่น ๆ เช่น กลุ่มเยาวชนปลดแอก (Free Youth) กิจกรรม #วิ่งกันนะ
แฮมทาโร่ กิจกรรมการชุมนุมในธีม “แฮร์รี่ พอตเตอร์” ในชื่อกิจกรรม #เสกคาถา
ผู้พิทักษ์ปกป้องประชาธิปไตย การชุมนุม #ธรรมศาสตร์จะไม่ทน การชุมนุมที่ได้ร่วม
ท�าพิธีฝังหมุดคณะราษฎร 2563 กลุ่มนักเรียนเลว เป็นต้น จนกระทั่งในปี 2564
ที่มีการยกระดับการชุมนุม การสลายการชุมนุม และการด�าเนินคดี ท่ามกลางสถานการณ์
ทางการเมืองที่แหลมคมและเข้มข้นยิ่งขึ้น
ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2563 ซึ่งเริ่มต้นการชุมนุมเยาวชนปลดแอก
จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม 2564 มีผู้ถูกด�าเนินคดีจากการชุมนุมและแสดงออกทาง
การเมืองไปไม่น้อยกว่า 1,747 ราย คิดเป็นจ�านวน 980 คดี จากจ�านวนคดีทั้งหมด
มีจ�านวน 150 คดี ที่สิ้นสุดไปแล้ว โดยมากเป็นคดีที่ต�ารวจหรือศาลท�าการลงโทษปรับ
คดีจึงสิ้นสุดลง ท�าให้ยังมีคดีอีกไม่น้อยกว่า 830 คดี ยังอยู่ระหว่างการต่อสู้ในกระบวนการ
ต่าง ๆ