Page 35 - kpiebook67020
P. 35
34 การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต
กรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษทุกกระทงความผิด โดยให้ลงโทษมาตรา
289 (5) ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและกระท�าด้วยการทรมานทารุณโหดร้าย ซึ่งเป็นบทหนักสุด
ตามมาตรา 90 ลงโทษประหารชีวิต ส่วนจ�าเลยที่ 6 มีความผิดตามมาตรา 157 ละเว้น
การปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ร่วมกันข่มขืนใจให้กระท�าการใดหรือ
ไม่กระท�าการใด ให้ลงโทษ จ�าคุก 8 ปี ทั้งนี้ จ�าเลยที่ 1-7 ให้การเป็นประโยชน์แก่
การพิจารณาคดี มีการให้เงินค่าปลงศพและบรรเทาผลร้ายให้บิดามารดาผู้เสียชีวิต
รวมทั้งช่วยปฐมพยาบาลและน�าส่งโรงพยาบาลจนกู้สัญญาณชีพกลับมาได้ จึงลดโทษ
ให้จ�าเลยคนละ 1 ใน 3 คงเหลือโทษจ�าคุกตลอดชีวิต ส�าหรับจ�าเลยที่ 1-5 และ 7
ส่วนจ�าเลยที่ 6 คงเหลือโทษจ�าคุก 5 ปี 4 เดือน
กรณีศึกษานี้เป็นเพียงหนึ่งกรณีที่สะท้อนภาวะวิกฤตอันเป็นปัญหาในระบบ
สอบสวนคดีอาญาของประเทศไทยที่มีการใช้อ�านาจโดยมิชอบหรือโดยทุจริตในขั้น
การสอบสวนโดยเจ้าหน้าที่สอบสวนหรือเจ้าพนักงานต�ารวจ ตอกย�้าวิกฤตที่หยั่งรากลึก
ในวงการต�ารวจ โดยที่สมมติฐานปัญหาและแนวทางการแก้ไขที่ปรากฏอยู่ในกฎหมาย
สูงสุด คือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยก�าหนดให้มีการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม
ในส่วนของการสอบสวนคดีอาญา ตามมาตรา 258 ง. (2) แม้เวลาผ่านไปกว่า 5 ปี
ยังไม่ปรากฏว่ามีการปฏิรูประบบสอบสวนคดีอาญาอย่างเป็นรูปธรรมตามเจตนารมณ์
และหลักการที่รัฐธรรมนูญก�าหนด มีเพียงการศึกษาสภาพปัญหาและเสนอแนะ และ
จัดท�าร่างพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีอาญา พ.ศ..... และร่างพระราชบัญญัติ
ต�ารวจแห่งชาติ พ.ศ. .... ซึ่งได้จัดรับฟังความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 77 เท่านั้น
ประเด็นปัญหาในเชิงโครงสร้าง
ระบบการสอบสวนคดีอาญาของไทย เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
คดีอาญา ซึ่งก�าหนดให้อ�านาจสอบสวนคดีอาญาแก่เจ้าพนักงานสอบสวนหรือต�ารวจ