Page 25 - kpiebook67020
P. 25

24  การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต




        เป็น 11 จุดใน 3 จังหวัด คือ จ.ปัตตานี ยะลา และสงขลา หนึ่งในนั้นคือ “จุดตรวจ

        บ้านกรือเซะ” ต.ตันหยงลูโละ อ.เมืองปัตตานี มีการยิงต่อสู้กัน ท�าให้กลุ่มวัยรุ่นและ
        ชายฉกรรจ์ที่บุกโจมตีวิ่งหลบหนีเข้าไปในมัสยิดกรือเซะ ซึ่งมีประชาชนปฏิบัติศาสนกิจ
        ด้านในอยู่แล้วจ�านวนหนึ่ง ต่อมาเจ้าหน้าที่ทั้งทหาร ต�ารวจ ได้น�าก�าลังปิดล้อมมัสยิด

        เอาไว้ตั้งแต่เช้าจนถึงบ่าย ก่อนตัดสินใจใช้อาวุธหนักยิงถล่ม จนท�าให้มีผู้เสียชีวิตกว่า

        30 ราย ส่วนจุดอื่น ๆ ก็มีผู้เสียชีวิตทุกจุด รวมแล้ว 109 คน และเมื่อปลายปี พ.ศ. 2555
        รัฐบาลพรรคเพื่อไทย โดยศูนย์อ�านวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)
        ได้จ่ายเงินเยียวยาในอัตราใหม่ให้กับครอบครัวผู้สูญเสียในเหตุการณ์กรือเซะ ทั้งหมด

        109 ราย ในจ�านวนนี้เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ 2 นาย รวมจ่ายเงินเยียวยาทั้งสิ้น 302 ล้านบาท


               ในแง่ทฤษฎีและการศึกษาความเป็นไป ตลอดจนข้าราชการบางส่วนที่เคยสัมผัส
        พื้นที่แบบไม่ได้ถือปืน กลับเห็นว่ารากเหง้าของปัญหายังคงเป็นเรื่อง “ความอยุติธรรม”

        และ “ความเหลื่อมล�้า” ท�าให้เกิดความรู้สึกเกลียดชังรัฐแพร่กระจายไปในกลุ่มคน
        หลายกลุ่มในพื้นที่ และสิ่งส�าคัญที่สุดของการอ�านวยกระบวนการยุติธรรมที่ไม่เหลื่อมล�้า

        คือประชาชนเข้าถึงง่าย สะดวก ปลอดภัย และประหยัด แต่ค�าถามคือการเข้าสู่
        กระบวนการยุติธรรมที่ชายแดนใต้มีความปลอดภัยของผู้ที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม

        หรือไม่ กระบวนการจ่ายเงินเยียวยา 4 ล้าน และ 7 ล้าน เมื่อไปถามแล้วได้รับค�าตอบ
        ว่าไม่ใช่การเยียวยาที่แท้จริง แต่การได้ตัวเจ้าหน้าที่ที่รับผิดกับการละเมิดสิทธิต่างหาก

        คือ การเยียวยาที่แท้จริง

               ปัญหาความเหลื่อมล�้าในกระบวนการยุติธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้

        ยังคงด�ารงอยูในปัจจุบัน เช่น การฆ่านอกระบบกฎหมาย การวิสามัญฆาตกรรม และ
        ศาลเตี้ย ทั้งสามค�านี้เป็นรูปแบบของการละเมิดสิทธิในชีวิตที่ร้ายแรง รวมทั้งการเสียชีวิต

        ในระหว่างการควบคุมตัวก็เป็นการละเมิดสิทธิในชีวิตอีกรูปแบบหนึ่ง ตัวอย่างเช่น
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30