Page 61 - kpiebook67002
P. 61

ง่ายมากขึ้น ถือว่าเป็นการส่งเสริมประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม นอกจากนี้สื่อสังคมออนไลน์เองก็มีช่องทาง

                                                                                 63
               การสื่อสารที่มีความหลากหลายท าให้การเข้าถึงรัฐสภาท าได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น
                       การสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์มักเป็นการสื่อสาร 2 ทางระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร การใช้สื่อ

               สังคมออนไลน์ต้องตระหนักว่าสื่อสังคมออนไลน์ไม่ได้เป็นสื่อทางการ และต้องมีการประยุกต์ให้เข้ากับระบบ

               การท างาน การใช้สื่อสังคมออนไลน์ของสถาบันทางการเมืองจะต้องไม่กลายเป็นภาระส าหรับหน่วยงาน หาก
               เมื่อไรที่การใช้สื่อสังคมออนไลน์เป็นภาระของหน่วยงานจะท าให้หน่วยงานขาดความสามารถในการตอบสนอง

               และสร้างการมีส่วนร่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่ส าคัญจ าเป็นต้องตระหนักถึงการเข้าถึงข้อมูลหรือกฎหมายใน
               การอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลอย่างละเอียดถี่ถ้วน ส าหรับรัฐสภานั้นต้องพิจารณาว่าสื่อสังคมออนไลน์มีลักษณะ

               เป็นอย่างไร และการจัดท าเนื้อหาเผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์ในแต่ละรายการนั้นเป็นสิ่งส าคัญยิ่ง รัฐสภาต้อง
               หลีกเลี่ยงเนื้อหาหรือประเด็นที่เป็นการเลือกปฏิบัติบนพื้นฐานของเพศ ศาสนา วัฒนธรรม สัญชาติ หรือ

               ลักษณะอื่นใดที่มีความละเอียดอ่อนทางวัฒนธรรมและเพศสภาพ แนวคิดเรื่องเพศสภาพได้รับการกล่าวถึง

               อย่างละเอียดในสิ่งพิมพ์ฉบับที่ 17 ของ IPU ในค.ศ. 2011 นอกจากนี้การเผยแพร่ข้อมูลของรัฐสภาบนสื่อ
               สังคมออนไลน์ จ าเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพิจารณาถึงคุณสมบัติของผู้รับสาร เช่น เพศสถานะ กลุ่มชาติพันธุ์ ศาสนา

               การมองเห็น การได้ยิน หรือความพิการทางร่างกาย ในการพูด การรับรู้ และระบประสาท โดยมีรายละเอียด

               ดังนี้
                              (1) ความแตกต่างของผู้ชายและผู้หญิง รวมถึงเพศสถานะอื่น ๆ ในการใช้สื่อสังคมออนไลน์

               เพื่อติดต่อกับรัฐสภามีจ านวนเท่ากันหรือไม่ และมีความแตกต่างกันอย่างไร
                              (2) รัฐสภาใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อแสวงหาความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นที่ก าลังเป็นที่สนใจ

               ในสังคม หรือสนใจเฉพาะกลุ่ม เช่น ผู้หญิงหรือชนกลุ่มน้อยในรัฐสภา ปัญหาในการเข้าถึงข้อมูลเฉพาะกลุ่ม
                              (3) สมาชิกรัฐสภาทั้งชายและหญิง กลุ่มเพศสถานะอื่น ๆ ใช้งานสื่อสังคมออนไลน์เท่ากัน

               หรือไม่ มีความแตกต่างระหว่างผู้ชายและผู้หญิงในการปฏิสัมพันธ์ทางออนไลน์หรือตัวต่อตัว

                              (4) ตัวอย่างความคิดเห็นที่ไม่เหมาะสม มีการมุ่งเป้าไปที่ผู้ชายและผู้หญิง หรือเพศทางเลือก
               อื่นอย่างเท่าเทียมกันหรือไม่

                              (5) สถานะสื่อสังคมออนไลน์ของรัฐสภา ได้รับการประเมินว่าใช้งานได้หรือไม่ มีการใช้ภาษา
               ที่ชัดเจนและเข้าถึงได้ทุกกลุ่ม ท าให้ประชาชนมีส่วนร่วม เนื้อหาและการมีส่วนร่วมให้บริการในภาษาราชการ

                           64
               ทั้งหมดหรือไม่
                       ทั้งหมดนี้คือส่วนส าคัญที่รัฐสภาต้องตระหนักเป็นอย่างยิ่งในการน าเสนอข้อมูลต่าง ๆ ผ่านสื่อสังคม

               ออนไลน์ ในส่วนของรัฐสภาไทย พบว่ามีแพลตฟอร์มออนไลน์ในทุกรูปแบบ ทั้ง Facebook Twitter

               Instagram Tiktok YouTube และเว็บไซต์หลัก แต่กลับกลายเป็นว่าสื่อออนไลน์เหล่านั้นไม่ได้ถูกใช้ประโยชน์
               มากนัก เป็นเพียงการขยายช่องทางการในเผยแพร่ข้อมูลจากสื่อหลักอย่างวิทยุและโทรทัศน์ ให้มาอยู่ใน




               63  Andy Williamson, Social Media Guidelines for Parliaments, pp. 18.
                  Andy Williamson, Social Media Guidelines for Parliaments, pp. 10-15.
               64

                                                           60
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66