Page 62 - kpiebook67002
P. 62
รูปแบบของสื่อสังคมออนไลน์ จากแนวคิดการเป็นตัวแทนของประชาชนถือว่าเป็นกุญแจส าคัญในระบบการ
เมืองไทย เป็นกระบวนการส าคัญที่ต้องใช้ประชาชนเป็นตัวขับเคลื่อนให้ประชาธิปไตยมีความสมบูรณ์ สมาชิก
รัฐสภามาจากการเลือกตั้งจากประชาชน ท าหน้าที่ในการเป็นปากเป็นเสียงแทนประชาชน แสดงความคิดเห็น
เรียกร้องสิทธิที่ประชาชนพึ่งได้รับ สื่อสังคมออนไลน์จึงได้เข้ามาท าหน้าที่ในการเป็นตัวเชื่อมระหว่างสมาชิก
65
รัฐสภา รัฐสภาและประชาชน ในการส่งต่อความต้องการของประชาชนสู่การเป็นนโยบายของรัฐบาล จะเห็น
ได้ว่าสมาชิกรัฐสภาหลายท่านได้กลายเป็นผู้เล่นหลักในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็น
Facebook, Twitter และ Instagram ในการติดต่อกับประชาชน สมาชิกรัฐสภาใช้ Facebook, Twitter และ
Instagram ในการสื่อสารกับประชาชนในทุกวัน โดยมีการอัพโหลดข้อมูลและรูปภาพผ่านทาง Facebook,
Twitter และ Instagram พร้อมทั้งการน าเสนอความคิด นโยบาย หรืออุดมการณ์ทางการเมือง หรือแม้กระทั่ง
กิจวัตรประจ าวันของพวกเขา รวมทั้งสิ่งที่เกิดขึ้นภายในรัฐสภา ท าให้ประชาชนสามารถรับรู้การเคลื่อนไหวของ
สมาชิกรัฐสภาและเหตุการณ์ต่าง ๆ ในรัฐสภาได้โดยตรง ยิ่งกว่านั้นประชาชนสามารถส่งข้อความโต้กลับในแต่
ละพื้นที่แพลตฟอร์มของสมาชิกรัฐสภาได้ในทันที นอกจากนี้นักข่าวส านักต่าง ๆ ยังน าเรื่องราวจาก
แพลตฟอร์มออนไลน์ของสมาชิกรัฐสภามาน าเสนอเป็นข่าวในแต่ละวันอีกด้วย การใช้สื่อสังคมออนไลน์ของ
สมาชิกรัฐสภาจึงท าให้ลดปัญหาเรื่องการสื่อสารทางเดียวได้ เพราะสมาชิกรัฐสภาส่วนใหญ่ตอบกลับข้อความ
ของประชาชน พื้นที่บนโลกอินเตอร์เน็ตได้กลายเป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนข้อความ ความคิดเห็นระหว่าง
ประชาชนกับสมาชิกรัฐสภา เมื่อหันกลับมามองสื่อสังคมออนไลน์ของรัฐสภาจะเห็นความแตกต่างจากชัดเจน
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของจ านวนผู้ติดตาม การตอบกลับข้อความของประชาชน หรือการน าเสนอข่าวสารอยู่เสมอ
รัฐสภาอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนแนวทางหรือวิธีการด าเนินงานในส่วนของแพลตฟอร์มออนไลน์ให้ตอบ
โจทย์ประชาชนมากขึ้น
3.2.4 การเชื่อมโยงระหว่างรัฐสภาและประชาชนผ่านช่องทางการสื่อสาร
สิ่งส าคัญที่จะท าให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างรัฐสภาและประชาชน คือ ช่องทางการสื่อสารที่มี
ประสิทธิภาพ ที่จะช่วยสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน รัฐสภาไทยเล็งเห็นความส าคัญกับการมีส่วนร่วมของ
ประชาชน สังเกตได้จากการพัฒนาให้มีช่องทางในการสื่อสารที่หลากหลายและครอบคลุมประชาชนในทุกกลุ่ม
เพราะประชาชนเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากที่สุดในกระบวนการนิติบัญญัติ นอกจากนี้รัฐสภาในบทบาทของ
การให้บริการประชาชนยังจ าเป็นต้องสร้างความตระหนักรู้ทางการเมือง และกระตุ้นให้ภาคประชาชนมีส่วน
ร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ ของรัฐสภาเพื่อเติมเต็มช่องว่างระหว่างรัฐสภากับ
ประชาชน และต้องท าให้ช่องทางการสื่อสารเหล่านั้นกลายเป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้ทางด้านการเมืองการ
ปกครอง ข้อมูลข่าวสารของรัฐสภา กระบวนการร่างกฎหมายที่จ าเป็นต้องรับฟังความคิดเห็นและความรู้สึก
ของประชาชน ดังนั้นจึงมีการส ารวจความคิดเห็นของประชาชนถึงประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูลของรัฐสภา
65 Liam D.G.McLoughlin, How Social Media is Changing Political Representation in the United Kingdom,
Submitted in Partial fulfilment of Requirements for the Award of the Degree of Doctor of Philosophy,
School of Arts and Media, University of Salfrod (2019), pp. 5-6.
61