Page 253 - kpiebook66032
P. 253

ตลาดนัดภูมิปัญญาสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น


               เทศบาลตำบลท่าสาป อำเภอเมือง จังหวัดยะลา




                                                          สมพร คุณวิชิต, ชนิษฎา ชูสุข และ
                                                                        จิตราวดี ฐิตินันทกร  264

                                                                                                     ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)

               เกริ่นนำ


                     เทศบาลตำบลท่าสาป เป็นเมืองเล็ก ๆ ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกจากตัวเมืองยะลา

               เป็นที่ตั้งของชุมชนเก่าแก่ที่รู้จักกันนาม บ้านท่าสาป มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน เดิมทีพื้นที่
               บ้านท่าสาปมีชาวไทยพุทธอาศัยอยู่ 100% และต่อมาเริ่มมีชาวไทยมุสลิมเข้ามาอยู่อาศัย
               ร่วมกันกลายเป็นพื้นที่พหุวัฒนธรรมที่มีพี่น้องไทยพุทธและไทยมุสลิม ย้อนกลับไปก่อน

               พ.ศ. 2547 ชาวไทยพุทธและไทยมุสลิมในพื้นที่นี้อยู่ร่วมกันฉันท์พี่น้อง ต่างฝ่ายต่างไปมาหาสู่กัน
               ฉันท์ญาติมิตร ไม่มีการแบ่งแยกเชื้อชาติศาสนา มีการไปมาหาสู่ค้าขายกันปกติ แต่หลังจาก

               เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้นใน พ.ศ. 2547 ซึ่งเหตุการณ์ได้ลุกลามจนเกิดเหตุคนไทยพุทธ
               ถูกลอบยิง มีการลอบวางระเบิดในพื้นที่ และการก่อกวนต่าง ๆ ทำให้เกิดความกลัวในหมู่
               คนไทยพุทธ นานวันเข้ากลายเป็นความหวาดระแวงใจกันระหว่างคนไทยพุทธกับคนไทยมุสลิม

               ชาวไทยพุทธได้มีการปิดพื้นที่หมู่บ้านไม่ให้มีการเข้าออกในช่วงกลางคืนถึงเช้า เกิดการตัดขาด
               ไม่อยากไปมาหาสู่กับทั้งประชาชนทั่วไปและหน่วยงานราชการซึ่งข้าราชการส่วนใหญ่ที่ให้

               บริการประชาชนก็เป็นคนไทยมุสลิม ทำให้เกิดบรรยากาศแห่งความอึดอัดใจต่อกัน จากเดิมที่
               เคยเป็นพื้นที่สงบสุข กลายเป็นพื้นที่แห่งความหวาดระแวงและต่างคนต่างอยู่ ด้วยสภาพเช่นนี้
               ทำให้ท่านนายกเทศมนตรีตำบลท่าสาปไม่สบายใจและอยากหาทางแก้ปัญหาเพื่อฟื้นคืน               ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่น

               ความสันติสุขให้กับคนในพื้นที่ จึงได้เกิดแนวคิดว่าจะทำอย่างไรที่จะให้คนไทยพุทธและคนไทย
               มุสลิมกลับมามีความรักความสนิทสนมอยู่กันแบบพี่น้องเช่นเดิม และจากการที่บ้านท่าสาป

               เป็นชุมชนโบราณที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เป็นชุมชนที่มีการค้าขายทางเรือ เป็นจุดที่
               ประชาชนมาพบปะกัน มีท่าน้ำ และมีอาคารโบราณเก่าแก่ จึงเกิดแนวคิดว่าที่นำมาสู่




                  264   1. รศ. ดร.สมพร คุณวิชิต อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
                      2. ผศ. ดร.ชนิษฎา ชูสุข อาจารย์ประจำคณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
                      3. นางสาวจิตราวดี ฐิตินันทกร คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์




                                                                              สถาบันพระปกเกล้า   2
   248   249   250   251   252   253   254   255   256   257   258