Page 256 - kpiebook66032
P. 256

ทั้งนี้ ประชากรส่วนใหญ่ในเขตเทศบาลตำบลท่าสาปนับถือศาสนาอิสลาม (ร้อยละ 80)

           และส่วนที่เหลือ นับถือศาสนาพุทธ (ร้อยละ 20) ศาสนสถานที่สำคัญในพื้นที่มีวัด 1 แห่ง คือ
           วัดดิตมงคลซึ่งตั้งอยู่หมู่ที่ 1 มีสุเหร่า 13 แห่ง และมัสยิด 8 แห่ง (มัสยิดยาแมะกาปงฮูลู มัสยิด
     ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)   คนส่วนใหญ่ในพื้นที่ปัจจุบันใช้ภาษายาวีเป็นภาษาถิ่น ผู้ชายนิยมนุ่งโสร่ง ส่วนผู้หญิงนิยม
           ดารุลอีหม่าม มัสยิดนูรุฮูดา มัสยิดดารุสสลาม มัสยิดนูรุลยามาลโต๊ะดูรัส มัสยิดยาแมะสาคอ
           มัสยิดยาแมะสาคอ มัสยิดดารูลกอเราะ มัสยิดยามีตุลญันนะห์) ประชาชนชาวไทยมุสลิมซึ่งเป็น



           นุ่งผ้าถุงลายคลุมถึงข้อเท้า ชุดบานง กูรง และผ้าคลุมศีรษะ (ฮิญาบ)  ลักษณะของชุมชน
                                                                        265
           จะอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มตามเส้นทางคมนาคม การประกอบอาชีพของผู้คนท่าสาปมีทั้งทำ

           สวนยางพารา ทำสวนผลไม้ เลี้ยงสัตว์ หรือการเกษตรอื่น ๆ รวมทั้งรับจ้างตามโรงงาน
           อุตสาหกรรมในเขตเทศบาลนครยะลาและรับจ้างอื่น ๆ ในด้านการท่องเที่ยวนั้น ตำบลท่าสาป
           มีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ได้แก่ ชุมชนเมืองเก่า ตลาดต้องชมท่าแพท่าสาป (ซึ่งจะนำมา

           ถอดบทเรียนในครั้งนี้) จุดชมวิวเขากำปั่น ลานวัฒนธรรมและสินค้าโอทอป ทางเลียบแม่น้ำ
           ปัตตานี ถ้ำสำเภาทอง บึงกำปั่น (หมู่ที่ 6) แหล่งพักผ่อนริมแม่น้ำปัตตานี (หมู่ที่ 1, 2, 3) และ

           บ้านโบราณ ซึ่งประชาชนส่วนหนึ่งก็มีรายได้จากการทำกิจกรรมเชิงเศรษฐกิจที่เกี่ยวเนื่องกับ
           การท่องเที่ยวตามแหล่งท่องเที่ยวสำคัญเหล่านี้ด้วยโดยเฉพาะการขายอาหาร ผลไม้ สินค้า
           แปรรูป งานฝีมือ และของที่ระลึก เป็นต้น


           ทำความรู้จักเทศบาลตำบลท่าสาป

                 ปัจจุบัน การบริหารงานของเทศบาลตำบลท่าสาปอยู่ภายใต้การนำของนายมะสดี หะยีปิ

           นายกเทศมนตรีตำบลท่าสาป มีรองนายกเทศมนตรี 2 ท่าน และมีสมาชิกสภาเทศบาลตำบล
     ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่น   ในปีงบประมาณ 2565 รวมทั้งสิ้น 47,741,408.14 บาท เป็นรายได้ไม่รวมที่รัฐอุดหนุน
           ท่าสาปจำนวน 12 คน ซึ่งเป็นชายทั้งหมด เทศบาลตำบลท่าสาปมีงบประมาณในการดำเนินงาน


           ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 25,394,502.50 บาท และเป็นรายได้ที่รัฐอุดหนุนให้
           องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 22,346,905.64 บาท ทางเทศบาลฯ มีการจัดแบ่งโครงสร้าง

           การบริหารงานภายในองค์กรออกเป็น 6 ส่วนงาน ประกอบด้วย สำนักปลัด กองคลัง กองช่าง
           กองการศึกษา กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และหน่วยตรวจสอบภายใน โดยมีบุคลากรตาม
           โครงสร้างส่วนราชการของเทศบาลตำบลท่าสาปรวมทั้งสิ้น 50 คน ประกอบด้วย ข้าราชการ

           26 คน ลูกจ้างประจำ 2 คน ลูกจ้างตามภารกิจ 16 คน และลูกจ้างทั่วไป 6 คน






              265   เทศบาลตำบลท่าสาป, แผนพัฒนาท้องถิ่น 5 พ.ศ. 2566-2570, (ม.ป.ท.: ม.ป.พ., 2566).




        2 0    สถาบันพระปกเกล้า
   251   252   253   254   255   256   257   258   259   260   261