Page 257 - kpiebook66032
P. 257
ตารางที่ 2: บุคลากรเทศบาลตำบลท่าสาปแยกตามโครงสร้างส่วนราชการ
ลูกจ้าง ลูกจ้างตาม ลูกจ้าง
ลำดับที่ ส่วนราชการ ข้าราชการ รวม
ประจำ ภารกิจ ทั่วไป
1 สำนักปลัด 11 1 4 4 20
2 กองคลัง 5 1 3 9
3 กองช่าง 4 4 1 9
4 กองการศึกษา 4 3 7 ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)
5 กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม 2 2 1 5
รวม 26 2 16 6 50
หมายเหตุ : ข้อมูล ณ เดือนพฤษภาคม 2566
ที่มา: เทศบาลตำบลท่าสาป (2566)
การพัฒนาท้องถิ่นภายใต้การนำของนายกฯ มะสดี และทีมบริหาร นั้น มีนโยบายสำคัญ
ที่เรียกว่า “สร้างสังคมดี มีคุณภาพ อย่างยั่งยืน” ภายใต้นโยบายดังกล่าวนี้ ทีมบริหาร
ได้กำหนดนโยบายที่สำคัญไว้ 5 เรื่องที่ครอบคลุมทั้งด้านการพัฒนาสังคมที่มีคุณภาพ
การพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาโครงสร้าง
พื้นฐาน และการพัฒนาด้านการเมืองการบริหาร ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจที่เชื่อมโยงหรืออาจกล่าวได้ว่า
เป็นที่มาของการดำเนินโครงการตลาดนัดภูมิปัญญาสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น เทศบาล
ตำบลท่าสาป ครั้งนี้ด้วย คือ ภายใต้นโยบายด้านการพัฒนาสังคมที่มีคุณภาพนั้น ทางเทศบาล
ได้มีระบุให้มีการดำเนินการจัดให้มีการอนุรักษ์ บำรุงรักษา ศิลปะ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม
จารีตประเพณี ภูมิปัญญาและอัตลักษณ์ท้องถิ่น เช่น การจัดงานอนุรักษ์วัฒนธรรมของ
ตำบลท่าสาป งานประเพณีต่าง ๆ และส่งเสริมศูนย์การเรียนรู้ในเขตเทศบาลตำบลท่าสาป ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่น
เป็นต้น ที่สำคัญ ทางเทศบาลได้ยึดเอาแนวคิดที่เรียกว่า THASAP Life (วิถีท่าสาป) เป็น
แนวทางในการบริหารงานและพัฒนาเพื่อนำพาท้องถิ่นไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่ง THASAP
เป็นการเล่นคำที่หมายถึงเมืองท่าสาปและตัวอักษรภาษาอังกฤษแต่ละตัวนั้นมีความหมายพิเศษ
คือ T : Technology and Innovation หมายถึงการส่งเสริมการพัฒนาโดยใช้เทคโนโลยีและ
นวัตกรรม H : Harmonization หมายถึงผสมผสานกลมกลืนภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม
A : Art and Culture หมายถึงทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม S : Sustainable หมายถึงมุ่งเน้น
การพัฒนาที่ยั่งยืน A : Agenda and Area หมายถึงการเข้าถึงประเด็นและเข้าถึงพื้นที่ และ
P : Partnership หมายถึง การเป็นหุ้นส่วนและการมีส่วนร่วมการทำงานร่วมกัน โดยจะเห็นว่า
สถาบันพระปกเกล้า 2 1