Page 262 - kpiebook66032
P. 262

ให้มีความยั่งยืนตลอดไป เพื่อเป็นการเปิดตลาดการซื้อขายให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป

           และเป็นการส่งเสริมอาชีพให้แก่คนในตำบล และเพื่อเป็นการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น
           อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะมีการตั้งวัตถุประสงค์ของโครงการไว้หลายประการครอบคลุม
     ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)   ระหว่างพี่น้องชาวไทยพุทธและมุสลิมในพื้นที่ อีกอย่างคือการสร้างรายได้ให้เกิดขึ้นแก่คน
           หลากหลายมิติ แต่ความตั้งใจจริง ๆ ที่ทางเทศบาลมุ่งหวังอยากให้เกิดมากที่สุดจากการที่ได้
           พูดคุยกับทีมผู้บริหารก็คือ การเปิดพื้นที่และทลายกำแพงความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน



           ในพื้นที่ รวมถึงการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมของคนท่าสาปให้ลูกหลานรุ่นหลังได้เห็น
           คุณค่าและภาคภูมิใจร่วมกันนั่นเอง



           ส่วนที่ 3 คนท่าสาปกับการสร้างตลาดนัดภูมิปัญญาที่นำพามาซึ่งความสมานฉันท์


                 จากปัญหาอันเป็นที่มาและความมุ่งหมายดังกล่าวข้างต้น ได้นำมาสู่การดำเนินโครงการ
           ตลาดนัดภูมิปัญญาสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น เทศบาลตำบลท่าสาป ซึ่งการดำเนินงานนั้น

           เริ่มจากการเตรียมงาน ในขั้นตอนนี้ทางเทศบาลฯ ได้ศึกษาข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับ
           สภาพพื้นที่ เช่น สำรวจย่านเมืองเก่าที่มีอาคารโบราณและบริเวณพื้นที่ใกล้กับท่าน้ำ สืบค้น
           ประวัติความเป็นมาของการค้าขายและวิถีชีวิตของคนท่าสาปแต่ก่อน รวบรวมข้อมูลประเพณี

           วัฒนธรรมและการแสดงพื้นบ้านดั้งเดิมของท่าสาป รวมไปถึงภูมิปัญญาอื่น ๆ จากนั้นมี
           การวางแผนงานว่าจะทำกิจกรรมอะไรบ้างในงานตลาดนัดภูมิปัญญาที่จะจัดขึ้นและการที่จะ

           จัดกิจกรรมแต่ละกิจกรรมได้นั้นต้องมีงานอะไรบ้างที่ต้องทำในแต่ละขั้นตอน มีการประชุมกับ
           ผู้บริหารและทีมงานเพื่อร่วมกำหนดวัตถุประสงค์ จากนั้นจึงจัดทำโครงการและเสนอโครงการ
           เพื่อขออนุมัติ และเนื่องจากเป็นโครงการใหญ่จึงต้องมีการแต่งตั้งเป็นคำสั่งเพราะต้องแบ่งงาน
     ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่น   กันทำและมีการประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในเทศบาลฯและผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ จากนั้น


           ได้ทำการประชาสัมพันธ์โครงการฯ ให้เป็นที่รู้จักเป็นวงกว้าง


                 ขั้นตอนต่อมาคือการลงมือทำงานตามที่กำหนดไว้ในแผนงานเพื่อให้เกิดกิจกรรมต่าง ๆ
           ขึ้นในวันที่จะจัดงานตลาดนัดภูมิปัญญาแต่ละครั้ง โดยในแต่ละครั้งจะมีการจัดกิจกรรม
           ที่หลากหลายทั้งการแสดงบนเวที เช่น การแสดงลิเกฮูลู การแสดงซีละ การอนาซีด การรำ

           มโนราห์ การแสดงวายังกูเละ (หนังตะลุง) การแข่งขันตอบปัญหาบนเวที กิจกรรมเรื่องเล่า
           ท่าสาป การสาธิตภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น การทำอาหารและขนมพื้นบ้าน การทำงานฝีมือ เช่น

           การจักสาน  การทำปลอกมีด การทำหัวกรงนก การทำดอกไม้จันทน์ การทำผลิตภัณฑ์จาก
           กะลามะพร้าว การแกะหนังตะลุง (วายังกูเละ) เป็นต้น การประกวดแข่งขัน เช่น การแข่งขัน
           ทำขนมและอาหารพื้นบ้าน การแต่งกายด้วยชุดพื้นบ้านหรือวัฒนธรรมท้องถิ่น (มลายู





        2      สถาบันพระปกเกล้า
   257   258   259   260   261   262   263   264   265   266   267