Page 254 - kpiebook66032
P. 254

การพัฒนาโครงการ “ตลาดนัดภูมิปัญญาสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น” ที่ใช้เรื่องของตลาดนัด

           และวัฒนธรรมมาเป็นจุดเชื่อมให้คนทุกศาสนามาเจอกันเพื่อสานสัมพันธ์กันอีกครั้ง ผลสำเร็จ
           ที่เกิดขึ้นนั้นดีเกินคาด คือ นอกจากจะทำให้พี่น้องไทยพุทธและมุสลิมเริ่มกลับมาพูดคุยกัน
     ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)   คนในชุมชนได้อีกทางหนึ่งด้วย เทศบาลตำบลท่าสาปทำเรื่องดี ๆ เช่นนี้ให้เป็นจริงได้อย่างไร
           เหมือนเดิมแล้ว ยังนำมาสู่การจัดกิจกรรมดี ๆ ที่เป็นพื้นที่แห่งความสร้างสรรค์สำหรับเยาวชน
           สร้างความภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมที่ดีงาม พัฒนาเศรษฐกิจและเสริมรายได้ให้กับ



           ทั้งหมดจะอยู่ในเนื้อหาที่จะเล่าต่อไปนี้



           ส่วนที่ 1 บริบทพื้นที่เขตเทศบาลตำบลท่าสาป


           ทำความรู้จักตำบลท่าสาป

                 เทศบาลตำบลท่าสาปเป็นเมืองเล็ก ๆ ในจังหวัดยะลา มีพื้นที่ 16.11 ตารางกิโลเมตร
           ทิศเหนือมีอาณาเขตติดกับตำบลพร่อน ตำบลยุโป อำเภอเมือง ทิศใต้ ติดกับตำบลสะเตงนอก
           ตำบลบันนังสาเรง อำเภอเมือง ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลสะเตง อำเภอเมือง ทิศตะวันตก

           ติดต่อกับตำบลหน้าถ้ำ อำเภอเมือง ในพื้นที่เทศบาลตำบลท่าสาปมีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ
           ตำบาลจำนวน 1 แห่ง มีโรงเรียนประถมศึกษาจำนวน 3 แห่งในหมู่ที่ 1 หมู่ 3 และหมู่ 4

           มีโรงเรียนตาดีกาจำนวน 6 แห่ง ในหมู่ที่ 1 และหมู่ 6 รวมทั้งมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน
           1 แห่ง พื้นที่ส่วนใหญ่ของตำบลท่าสาปเป็นที่ราบลุ่ม มีทรัพยากรธรรมชาติสำคัญ คือ บึงกำปั่น
           แม่น้ำปัตตานี และถ้ำสำเภาทอง ซึ่งแม่น้ำปัตตานีนั้น นอกจากจะเป็นแม่น้ำสายหลักที่ไหลผ่าน

           ตำบลท่าสาปแล้ว ยังเป็นแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคที่สำคัญอีกด้วย ตำบลท่าสาปตั้งอยู่ใน
     ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่น   ชื้น มี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม และฤดูฝนเริ่มตั้งแต่
           เขตมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้มีสภาพอากาศแบบร้อน


           เดือนพฤษภาคมถึงกุมภาพันธ์ ช่วงที่มีฝนตกชุกมากที่สุดคือจากเดือนตุลาคมถึง
           เดือนพฤศจิกายนของทุกปี ซึ่งจากจุดที่ตั้งที่มีแม่น้ำไหลผ่าน ลักษณะภูมิประเทศที่ส่วนใหญ่เป็น

           ที่ราบลุ่ม และลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้นมีฝนตกชุก ทำให้พื้นที่ตำบลท่าสาปมักประสบ
           ปัญหาอุทกภัยหรือน้ำท่วมขังอยู่บ่อยครั้งโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝน ตัวอย่างอุทกภัยครั้งใหญ่ที่เคย

           เกิดขึ้นในพื้นที่นี้ คือ เมื่อ พ.ศ.2510 พ.ศ.2543 และ พ.ศ.2548 ที่ทำให้บ้านเรือนและทรัพย์สิน
           ของประชาชนเสียหายเป็นจำนวนมาก












        2      สถาบันพระปกเกล้า
   249   250   251   252   253   254   255   256   257   258   259