Page 251 - kpiebook66032
P. 251
“ทุกคนในส่วนงานต่าง ๆ ของเทศบาลก็เข้ามาร่วมเป็นที่ปรึกษาให้กับเด็ก
และเราก็ติดตามนิเทศงานอย่างจิงจัง” 258
นอกจากนี้ ปัจจัยภายในที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้โครงการนี้สามารถดำเนินมาได้
อย่างต่อเนื่องและประสบความสำเร็จก็คือความตั้งใจและความทุ่มเทของครู ที่ทั้งครูที่ปรึกษา
โครงการ คือ ครูภา ครูดาว และครูท่านอื่น ๆ ทุก ๆ คนที่ช่วยกันคนละไม้คนละมือด้วยความ
ตั้งใจ อดทน และทุ่มเททำเพื่อเด็ก ๆ เพราะหากปราศจากความตั้งใจและความทุ่มเทอย่างเต็มที่ ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)
ของคุณครูโรงเรียนเทศบาลบ้านทุ่งลานสถิตธรรมากร ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่นี้ก็คงไม่สามารถ
เกิดขึ้นได้ ซึ่งมีการสะท้อนมุมมองเกี่ยวกับคุณครูไว้ว่า
“อีกอย่างคือความตั้งใจของคุณครู ที่นำนโยบายท่านนายกฯ มาปฏิบัติ
โครงการนี้ มันไม่ได้อยู่ในวิชาเรียนอย่างเดียว ถ้าครูไม่เข้าใจว่านายกฯ ต้องการ
อะไร มีวิสัยทัศน์อะไร ก็จะไม่เกิด เป็นเพราะว่าครูเสียสละ อุทิศตน จึงทำให้
โครงการนี้ฯ เกิดความสำเร็จได้” 259
สำหรับปัจจัยภายนอกที่มีส่วนช่วยส่งเสริมหรือเอื้อให้โครงการนี้สำเร็จไปได้ด้วยดี
ประกอบด้วย การที่โรงเรียนตั้งอยู่ในสภาพภูมิประเทศที่เอื้อต่ออาชีพเกษตรกรรม คุณครูท่าน
หนึ่งได้อธิบายว่า การที่โรงเรียนบ้านทุ่งลานสถิตธรรมากรตั้งอยู่ในตำบลตำนานแห่งนี้ ทำให้มี
แหล่งน้ำ มีพื้นที่กว้างมากเหมาะกับการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เพราะโดย
กายภาพแล้ว พื้นที่ตำบลตำนานมีพื้นที่เหมาะสมสำหรับทำการเกษตร ทำได้ทุกอย่าง ทั้งทำนา
ปลูกผัก ทำสวนปาล์ม ทำสวนยางพารา เป็นต้น ปัจจัยภายนอกที่น่าสนใจอีกอย่างคือการที่
โรงเรียนตั้งอยู่ในตำแหน่งที่แวดล้อมไปด้วยปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้เรื่องการเกษตรเป็นอย่างดี ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่น
ซึ่งคุณครูได้อธิบายว่า ภายในชุมชนมีปราชญ์ชาวบ้านด้านการเกษตรในพื้นที่จำนวนมาก
จึงเป็นการง่ายที่จะไปขอความรู้ได้ถึงที่ โดยปราชญ์เกษตรเหล่านี้มีแปลงเกษตร สวน ไร่นา
หรือเล้าหมูเล้าไก่หลายจุดที่อยู่ใกล้โรงเรียนทำให้สะดวกที่จะพานักเรียนไปเรียนรู้ในสถานที่จริง
ปัจจัยภายนอกที่สำคัญอีกประการ คือ การสนับสนุนและการร่วมแรงร่วมใจของคนในชุมชน
และภาคีเครือข่าย ซึ่งภาคีเครือข่ายก็มีหลากหลายภาคส่วนดังที่เคยเล่าไว้แล้วก่อนหน้านี้ ไม่ว่า
จะเป็นหน่วยงานภาครัฐทั้ง สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองพัทลุง สำนักงานเกษตรจังหวัดพัทลุง
258 Personal communication, 18 เมษายน 2566.
259 Personal communication, 18 เมษายน 2566.
สถาบันพระปกเกล้า 2