Page 198 - kpiebook66032
P. 198
เนื้อหาส่วนนี้นำเสนอภาพการจัดการเมืองเชิงระบบในภาวะฉุกเฉินเพื่อรองรับผลกระทบ
ของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตเมืองอย่าง
เทศบาลตำบลแม่เหียะ ที่ใช้การจัดการข้อมูลและสารสนเทศเป็นตัวนำในการสื่อสารกับ
ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD) ส่วนที่ 1 บริบทพื้นที่เขตเทศบาลเมืองแม่เหียะ 215
เครือข่ายการทำงานและภาคประชาชน เพื่อบรรเทาสถานการณ์วิกฤตในพื้นที่
ทำความรู้จักเมืองแม่เหียะ
เทศบาลเมืองแม่เหียะ เดิมมีฐานะเป็น สภาตำบล ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของส่วนราชการ
ภูมิภาค และในปี พ.ศ. 2538 ได้รับสถานะเป็นนิติบุคคลและเป็นส่วนราชการท้องถิ่น ต่อมาใน
ปี พ.ศ. 2543 ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น องค์การบริการส่วนตำบล จนถึง พ.ศ. 2550 จึงได้รับ
การยกฐานะขึ้นเป็น เทศบาลตำบล 216
ปี พ.ศ. 2554 จากการที่เทศบาลตำบลแม่เหียะ เป็นตำบลที่มีการพัฒนาและมีการเติบโต
ทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว สภาเทศบาลตำบลแม่เหียะจึงได้มีมติให้ส่งเรื่องยกฐานะเป็น
เทศบาลเมืองไปยังรัฐสภา ในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เทศบาลตำบลแม่เหียะจึงได้รับ
การยกฐานะขึ้นเป็น เทศบาลเมือง ในปีงบประมาณ 2559 เทศบาลเมืองแม่เหียะมีรายรับทั้งสิ้น
136.05 ล้านบาท มีรายจ่ายทั้งสิ้น 123.73 ล้านบาท ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง
เชียงใหม่ซึ่งเป็นพื้นที่เขตเมืองของจังหวัดเชียงใหม่ โดยเทศบาลมีพื้นที่ทั้งหมด 24.405 ตาราง
กิโลเมตร ครอบคลุมชุมชนจำนวน 24 ชุมชน หรือ 10 หมู่บ้าน โดยมีประชากรทั้งหมด
19,740 คน
ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่น
215 กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ เทศเมืองแม่เหียะ. เอกสารประกอบการนำเสนอผลงานรางวัลพระปกเกล้า
ทองคำ 2565. ด้านการเสริมสร้างเครือข่ายรัฐ เอกชน และประชาสังคม. เสนอ 2 สิงหาคม 2565. (เอกสาร
ไม่ตีพิมพ์เผยแพร่), หน้า 4-6.
216 เทศบาลเมืองแม่เหียะ. ประวัติเทศบาลเมืองแม่เหียะ. สืบค้นจาก http://www.maehia.go.th/web/
show_detail.php?select=history&snameประวัติหน่วยงาน. เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2566.
1 2 สถาบันพระปกเกล้า