Page 193 - kpiebook66032
P. 193

ในเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ลดลงจนกลับสู่สภาพปกติภายใน 2 วัน เมื่อเปรียบเทียบกับ

               ปี พ.ศ. 2560 ที่มีปริมาณน้ำน้อยกว่าแต่ยังไม่มีคลองขุดช่วยในการระบายน้ำได้ใช้ระยะนาน
               มากถึง 10 วัน


                     การทำคลองขุดเกิดประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากช่วยป้องกันและแก้ไข
               ปัญหาน้ำท่วมแล้ว คลองขุดยังเป็นแหล่งกักเก็บน้ำในหน้าแล้งสำหรับการทำเกษตรกรรม

               โดยช่วยให้ชุมชนบ้านหนองบัวสามารถทำนาได้ถึงปีละ 2 ครั้งจากบางปีที่ไม่สามารถทำนา
               ได้เลย กล่าวได้ว่าเป็นการพลิกฟื้นผืนนาที่รกร้าง และช่วยให้มีน้ำหล่อเลี้ยงพื้นที่เกษตรกรรม    ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)
               ได้ตลอดทั้งปี ส่งผลต่อการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร เพิ่มรายได้ของเกษตรกร และเพิ่มมูลค่า

               ทางเศรษฐกิจในพื้นที่ต่อไป นอกจากนี้คันคลองของคลองขุด กว้าง 7 เมตร สามารถใช้เป็นถนน
               หรือเส้นทางสัญจรเชื่อมต่อระหว่างเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์และชุมชนบ้านหนองบัว ช่วยเพิ่ม

               ความสะดวกในการเดินทางให้แก่ประชาชนในพื้นที่

                     การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเขตเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์จะยังคงดำเนินการ

               ต่อเนื่องและยั่งยืน เพราะโครงการการบริหารจัดการน้ำ ขุดลอกและบำรุงรักษาคูคลอง
               หนองเบ็ญ หนองอีคูณ และหนองยางที่ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกันระหว่าง
               องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ และเทศบาลตำบลโพนทอง

               ได้รับการบรรจุในแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580)
               ด้านการจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย  ซึ่งได้มีการถ่ายทอดแผนแม่บทระดับชาติสู่แผนแม่บท
                                               212
               ลุ่มน้ำและแผนปฏิบัติการประจำปีต่อไป

                     นอกจากนี้องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ได้ขยายผลการดำเนินงานด้วยการจัดทำ
               โครงการขุดลอกกุดเชือกซึ่งอยู่บริเวณใกล้เคียงแก่งดอนกลาง หนองเบ็ญ และหนองอีคูณ



                  212   แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ดำเนินการจัดทำโดยคณะอนุกรรมการ  ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่น
               ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ มีกรอบการดำเนินงาน 20 ปี (พ.ศ. 2561–2580) และจัดทำให้สอดคล้อง
               กับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติภายใต้ประเด็นที่ 19 การบริหาร
               จัดการน้ำทั้งระบบ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกรอบและแนวทางในการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
               ทรัพยากรน้ำของประเทศ โดยยึดหลักแนวทางตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และ
               หลักการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน

                      แผนด้านการจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ การจัดระบบป้องกันน้ำท่วมชุมชน
               เมือง การจัดการพื้นที่น้ำท่วมและพื้นที่ชะลอน้ำรวมทั้งการบรรเทาอุทกภัยในเชิงพื้นที่อย่างเป็นระบบในระดับลุ่มน้ำ
               และพื้นที่วิกฤต (Area based) ลุ่มน้ำขนาดใหญ่ ลุ่มน้ำสาขา/ลดความเสี่ยง และความรุนแรงลงไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60
               สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ. แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). [ออนไลน์]
               http://www.onwr.go.th/?page_id=4174 สืบค้นเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2566




                                                                              สถาบันพระปกเกล้า   1
   188   189   190   191   192   193   194   195   196   197   198