Page 203 - kpiebook66032
P. 203
2) ช่วงชุลมุน
- ระลอกที่ 3 คลัสเตอร์ทองหล่อ : เป็นการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์อัลฟ่า
หรือสายพันธุ์จากประเทศอังกฤษ ในขณะนั้นแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วกว่า 138 ประเทศทั่วโลก
และได้เข้ามาระบาดในประเทศไทยในต้นเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 โดยมีจุดกระจายการ
แพร่ระบาดอย่างหนักจากกลุ่มผู้เที่ยวสถานบันเทิงย่านทองหล่อ เนื่องจากเป็นสายพันธุ์
ที่แพร่กระจายเชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อื่นมากถึง 40-70% และยังเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดี ทำให้มี
อัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตสูงขึ้นถึง 30% นอกจากนั้น ในช่วงเวลาคาบเกี่ยวกันยังมี ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)
โควิดสายพันธุ์เบต้า ที่พบในประเทศแอฟริกาใต้ โดยพบครั้งแรกในไทยที่ จ.นราธิวาส
ในเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2564 ซึ่งมีอัตราการแพร่เชื้อไวขึ้น 50% จากสายพันธุ์เดิม และ
สามารถกลายพันธุ์ในตำแหน่งสำคัญ ทำให้เชื้อไวรัสสามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้าง
220
ขึ้นและติดเชื้อซ้ำอีกได้ ในช่วงแห่งการระบาดระลอกนี้ ประชาชนประสบปัญหาการเข้าถึง
การตรวจ Real-Time PCR ที่มีราคาสูง ปริมาณจำกัด ในขณะที่ผู้มีผลตรวจประสบปัญหา
การหาเตียงไม่ได้ ในช่วงการระบาดอย่างรุนแรงเกิดสายด่วนโควิดเต็มทุกคู่สาย และเกิดข้อมูล
ทับซ้อนกันระหว่างเบอร์ฉุกเฉิน
จำนวนผู้ติดเชื้อในจังหวัดเชียงใหม่ระลอกเดือนเมษายน 2564 มีจำนวนผู้ติดเชื้อ
สะสมมากกว่า 7,000 ราย มีรายงานจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันจำนวนมาก มีนำมาตรการ
เฝ้าระวังมาใช้ ซึ่งเป็นแนวทางที่สำคัญที่ใช้ป้องกันการแพร่ระบาด โดยจังหวัดเชียงใหม่
ได้มีการกำหนดให้ผู้เข้ามาพักในจังหวัดต้องรายงานตัวต่อพนักงานควบคุมโรค เพื่อที่พนักงาน
ควบคุมโรคได้ เฝ้าระวังให้เกิดความปลอดภัย เพื่อค้นหาการติดเชื้อของผู้ที่เดินทางมาจาก
221
ต่างจังหวัด เพื่อให้การรักษา และควบคุมไม่ให้แพร่เชื้อไปยังชุมชน
จังหวัดเชียงใหม่ ได้กำหนดให้ผู้ที่เดินทางจากพื้นที่ต่างจังหวัด ต้องรายงานตัว
ผ่านระบบ CM - CHANA เมื่อเข้าจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งระบบนี้เป็นระบบที่สำนักงานสาธารณสุข ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่น
จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
ได้จัดทำขึ้นเพื่อนำส่งข้อมูลให้ทางพื้นที่ ผ่านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมายังเทศบาล
220 รพีพรรณ รัตนวงศ์นรา มอร์ด, (2564, สิงหาคม 21). มาทำความรู้จักโควิดกลายพันธุ์ โดยเฉพาะสายพันธุ์
เดลต้า ตัวที่แกร่งที่สุดและแพร่เชื้อได้ไว้ที่สุดในตอนนี้. Retrieved from รามาชาแนล ขับเคลื่อนสังคมไทยให้สุขภาพ
ดี: https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article
221 วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า (2565). สูจิบัตรรางวัลพระปกเกล้าทองคำ 2565.
“เทศบาลเมืองแม่เหียะ: การจัดการเมืองเชิงระบบในภาวะฉุกเฉินเพื่อรองรับผลกระทบของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา
2019 (Covid-19)”. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า. หน้า 64 - 71.
สถาบันพระปกเกล้า 1