Page 201 - kpiebook66032
P. 201

ไปในทางเดียวกัน โดยมีการสื่อสารงานกันผ่านการประชุมประจำและเปิดโอกาสให้พนักงาน

               เล่าสถานการณ์และแสดงความคิดเห็นอยู่เสมอ

                     ขั้นที่ 4 พลิกโฉมบริการสาธารณะ เกิดจากความคิดในการพัฒนาเมืองเพื่อเปิดรับ

               คนรุ่นใหม่ให้อาศัยและเติบโตในพื้นที่มากขึ้น ดังนั้นจำเป็นต้องพัฒนาบริการสาธารณะ
               ให้มีประสิทธิภาพและอำนวยความสะดวกต่อประชาชน เมื่อเป้าหมายนี้ได้รับการสื่อสารใน

               องค์กรจนมีความเข้าใจตรงกัน ก็สามารถดึงศักยภาพพนักงานมาทำงานได้เต็มที่และพัฒนา
               จนกลายเป็นระบบบริหารจัดการบ้านเมืองที่ได้รับการพัฒนาเพื่อให้บริการแก่ประชาชน          ท้องถิ่นในโลกยุควูก้า (VUCA WORLD)


                     ในขณะที่เขตที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตเมือง เทศบาลตำบลแม่เหียะมีเครือข่ายองค์กรชุมชน
               กว่า 28 เครือข่าย ที่รวมไปด้วยหมู่บ้านดั้งเดิม และหมู่บ้านจัดสรร โดยในการบริหารงานของ
               เทศบาลเมืองแม่เหียะ เทศบาลใช้การเชื่อมโยงเครือข่ายทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนงาน

               รวมทั้งใช้หลักการปฏิรูปงานท้องถิ่นแนวใหม่ ซึ่งต้องบริหารภายใต้การจัดความเสี่ยงและ
               สอดคล้องกับหลักความคุ้มค่า โปร่งใส ประหยัดในทุกมิติ ทั้งในด้านการบริหารงานด้าน

               บุคลากรซึ่งเป็นกำลังสำคัญภายในองค์กร  การบริหารงานด้านงบประมาณที่เป็นทรัพยากร
               สำคัญขององค์กร  และการบริหารงานด้านภารกิจงานของท้องถิ่นตอบสนองความต้องการ
               ประชาชนให้เกิดผลสำเร็จ



               ส่วนที่ 2 โควิด-19 ในประเทศไทยและพื้นที่เทศบาลเมืองแม่เหียะ


                     เหตุการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย
               ตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 จนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 จำนวผู้ติดเชื้อ

               แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาสายพันธุ์เชื้อโควิด-19 ซึ่งมีความสัมพันธ์กับลักษณะการแพร่ระบาด
               ใหญ่ โดยเป็นการติดเชื้อเป็นกลุ่มก้อนหรือคลัสเตอร์ (Cluster) ซึ่งในประเทศไทยได้เกิดขึ้น
               ทั้งหมด 5 ระลอก โดยถึงแม้ศูนย์กลางการระบาดในช่วงแรกของประเทศไทยจะอยู่ที่               ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่น

               กรุงเทพมหานคร แต่ทุกระลอกต่างมีผลกระทบต่อประชาชนทั่วประเทศ รวมถึงเทศบาลเมือง
               แม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นเมืองอยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่เพียง

               6 กิโลเมตร และเป็นทางผ่านการสัญจรของนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศ ต่อไปนี้
               เป็นการอธิบายภาพสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทย ซึ่งมีความสัมพันธ์กับ
               สถานการณ์การแพร่ระบาดในพื้นที่เทศบาลเมืองแม่เหียะ โดยเทศบาลเมืองแม่เหียะได้

               แบ่งช่วงสถานการณ์ความท้าทายช่วงแห่งการแพร่ระบาดเป็น 3 ช่วง ดังนี้









                                                                              สถาบันพระปกเกล้า   1
   196   197   198   199   200   201   202   203   204   205   206