Page 76 - kpiebook66030
P. 76
สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
การเงิน Wechat Taobao มีฐานข้อมูลลูกค้ามาก เพราะมี Big Data Analysis จึงเสริมบริการ
ทางการเงินเข้าไป
ต่อมาก็มีกระบวนการที่เรียกศัพท์ในเชิงรัฐศาสตร์ว่าเป็น Decentralization เพราะว่า
Digital Finance ยังผ่านธนาคารพาณิชย์ ยังผ่านธนาคารชาติ แต่ Blockchain
Cryptocurrency Bitcoin ไม่ผ่านตัวกลางเลย เป็นการกระจายอำนาจมาก แต่แทนที่สวีเดนกับ
จีนจะห้าม กลับนำคนเหล่านี้มาทำงานกับธนาคารกลาง แล้วสร้าง Central Bank Digital
Currency ขึ้นมา นี่คือปัจจัยที่นำมาสู่ความเปลี่ยนแปลงทางด้านการเงินระหว่างประเทศของ
โลกอย่างรวดเร็วมหาศาลในช่วงปีเศษ ๆ ที่ผ่านมา
อีกเรื่องนึงที่ระเบียบโลกทางเศรษฐกิจเปลี่ยน คือความท้าทายด้านความมั่นคงทาง
เศรษฐกิจ ที่มาจากการแข่งขันกันระหว่างประเทศที่มีบทบาทสำคัญของโลก ได้แก่ จีน อเมริกา
อังกฤษ ยุโรป ออสเตรเลีย ต่างฝ่ายต่างมีความคิดริเริ่มและหาเพื่อนใหม่ทางเศรษฐกิจ หรือ
เรียกว่าเศรษฐกิจการเมือง จีนมี BRI หรือ Belt and Road Initiative มีแผนจะเปิด Gulf
Cooperation ที่มอบหมาย 3 มณฑลร่วมมือกับอาเซียน จีนเสนอ Global Security Initiative
ขึ้นมา ความคิดริเริ่มใหม่ทางด้านความมั่นคง เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ประธานาธิบดีของจีน
เสนอขึ้นมาว่าเราต้องไม่ใช้หลักมาตรการฝ่ายเดียว ต้องไม่ไปบีบบังคับ มี Global
Development Initiative มีความริเริ่มทางด้านการพัฒนา โดยดึงประเทศ 50 ประเทศรวมทั้ง
ประเทศไทยเป็นมิตร แล้วมาช่วยกันดูว่าจะร่วมมือกันช่วยประเทศที่ยากจนให้เดินเข้าสู่
เป้าหมาย 17 เป้าหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนได้อย่างไร
สหรัฐอเมริกาก็นำแนวคิดภายในประเทศของตนเองมาใช้กับอินโดแปซิฟิก แต่
อินโดแปซิฟิกไม่มีไส้ในไม่ได้ ประธานาธิบดีไบเดนท่านจึงเสนอ Build Back Better World :
B3W ขึ้นมา ซึ่งเป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา เอามาใช้ในอินโดแปซิฟิก
แล้วคนก็คิดว่าสหรัฐคงต้องเข้า CPTPP แน่ จีนก็ไปดักรอเข้า CPTPP เอาไว้ แน่นอนว่าไต้หวัน
กับญี่ปุ่นยังค้านอยู่ ในที่สุดอเมริกาไม่เข้า CPTPP และส่งรัฐมนตรีพาณิชย์มาที่สิงคโปร์กับ
มาเลเซียเมื่อปลายปีที่แล้ว และเสนอ Indo-Pacific Economic Framework : IPEF
ประธานาธิบดีไบเดนก็มาแถลงที่ญี่ปุ่นกับเกาหลีใต้เมื่อมาเยือนเมื่อต้นปี แล้วชวนประเทศ
การแสดงปาฐกถานำ อาเซียนไปร่วม Indo-Pacific Economic Framework 7 ประเทศ และสหรัฐมีความคิดริเริ่ม
ต่าง ๆ เข้าไปร่วม ประเทศไทยเข้าไปร่วมด้วย อาเซียนก็แตกเหมือนกันเพราะ 10 ประเทศ
ใหม่ร่วมมือกับประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิกเรียกว่า Partners in the Blue Pacific : PBP
เพื่อต้านกิจกรรมของจีนที่ไปลงนามพันธมิตรทางด้านความมั่นคงกับ Solomon Islands ฉะนั้น
จึงเห็นว่าประเทศมหาอำนาจมีกลยุทธ์ต่าง ๆ ทางด้านเศรษฐกิจและต้องการให้ประเทศต่าง ๆ
ไปร่วมด้วย