Page 73 - kpiebook66030
P. 73
สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
บริษัท Nestle ซึ่ง Nestle ถือเลยว่า ESG นั้นไม่ใช่ CSR แต่เป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ ฉะนั้น
บริษัทใหญ่จึงมีเป้าหมายอย่าง Waste Zero มีเป้าหมาย Carbon neutrality เหมือนกับ
ที่รัฐบาลมี ตลาดหลักทรัพย์ของประเทศไทยก็กำหนดเกณฑ์เอาไว้เลยบริษัทไหนได้ ESG
ระดับ B เป็น A A- หรือ A+ ก็จะทำให้หุ้นขึ้นทันที เพราะฉะนั้นธรรมาภิบาลจึงมีความสำคัญ
เพราะเห็นแล้วว่าธรรมาภิบาลหรือเรื่องคอรัปชั่นที่เกิดขึ้น ความไม่โปร่งใส การขาดหลัก
นิติธรรมในหลายประเทศเป็นที่มาของความล่มสลายทางเศรษฐกิจและสังคม
ค่านิยมที่ 3 คือสิทธิมนุษยชน ซึ่งทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ในประเทศเพื่อนบ้านในเมียนมาร์แม้ไม่ใช่เรื่องของเรา แต่กลายเป็นเรื่องของเราเพราะ
การละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่องรุนแรงและเป็นระบบ ทำให้หลักไม่แทรกแซงกิจการ
ภายในของอาเซียนพ้นไป ประเทศต่าง ๆ ในโลกรวมทั้งสหประชาชาติติงให้อาเซียนเข้าไป
ติดตามเรื่องนี้ เพราะเมียนมาร์เป็นสมาชิก เพื่อทำให้มีการพูดคุยกับคู่ขัดแย้ง เพื่อไม่ให้มี
การใช้เครื่องบินเข้าไปถล่มประชาชนที่ไม่มีอาวุธ เป็นต้น เพราะสิทธิมนุษยชนเป็น Universal
Value เป็นค่านิยมระดับสากลที่กระทบต่อความมั่นคงของมนุษย์ ทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคม
เสาหลักของสหประชาชาติคือ Peace security, human right, และ development ดังนั้นหาก
ไม่มีสิทธิมนุษยชนก็ไม่มีการพัฒนาเพราะต้องเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน
ค่านิยมอันที่ 4 คือ การพัฒนาอย่างยั่งยืนและการดูแลสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ Millennium
Development Goals แล้ว และมีความชัดเจนมากขึ้นใน 17 เป้าหมายของ Sustainable
Development Goals ว่าการพัฒนาทุกเรื่องต้องมีความยั่งยืน การดูแลสิ่งแวดล้อมเป็นค่านิยม
หากไม่มี ESG กู้เงินธนาคารไม่ได้ บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ที่ไม่มี ESG จะไม่มีคนมาลงทุนใน
ผลการศึกษาล่าสุดยังมีออกมาว่าผู้บริโภคใหญ่ในโลกนี้พร้อมจ่ายแพงขึ้นร้อยละ 10 สำหรับ
การผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะฉะนั้นทั้งสถาบันการเงินจึงเข้ามาบังคับในเรื่องของ
ESG ผู้บริโภคก็เข้ามา ผู้ลงทุนเองก็ดูว่ากิจการที่ลงทุนนั้นมี ESG มีการดูแลสิ่งแวดล้อมแค่ไหน
แม้กระทั่งบริษัทที่ทำเรื่องหลาย ๆ แห่งในประเทศไทย ต้องมาดูว่ากิจการเหมืองแร่ของเขาจะมี
ESG ขึ้นมาได้อย่างไร
ประการที่ 3 ความท้าทายความมั่นคงที่มาจากการเปลี่ยนแปลงระเบียบของโลกทาง
เศรษฐกิจ ซึ่งเปลี่ยนมานานแล้ว แล้วเปลี่ยนมากขึ้นเรื่อย ๆ เศรษฐกิจโลกกำลังเปลี่ยนจาก
พหุภาคีนิยมเข้าไปสู่ภูมิภาคนิยม อาเซียนเป็นตัวอย่างที่ดี เรามีเป้าหมาย AEC หรือ ASEAN
Economic Community ในปี ค.ศ. 2015 ซึ่งก็เลยมาแล้วกำลังดำเนินการอยู่ ความสนใจ การแสดงปาฐกถานำ
ที่โลกให้ความสนใจต่อวงการการค้าโลก การเจรจาใน WTO ร้อยกว่าประเทศลดลงเรื่อย ๆ
มีปัญหาหลายอย่างที่ทำให้กระบวนการใน WTO เดินไม่ได้ เล็กลงมาจากอาเซียนคือประเทศ
ลุ่มแม่น้ำโขง ประกอบด้วยประเทศไทย และเพื่อนบ้านอย่างเมียนมาร์ ลาว เวียดนาม กัมพูชา
ร่วมมือกันในความร่วมมือที่เรียกว่า ACMECS ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี –
เจ้าพระยา – แม่โขง ซึ่งก็ผลัดกันเป็นเจ้าภาพ มีความร่วมมือ 6 - 7 ด้าน เรามีกรอบ