Page 72 - kpiebook66030
P. 72

2   สรุปการประชุมวิชาการ
           สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
       ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย


                 ประการที่ 6 Global Mega Trend คือเป็นสังคมที่ห่วงใยสิ่งแวดล้อม ห่วงใยต่อ Climate
           Change ซึ่งทุกท่านทราบดีอยู่แล้ว เป็นสังคมที่ห่วงใยโรคระบาด หลายประเทศมุ่งในเรื่องของ
           การผลิต Medical Equipment ประเทศจีนมอบหมายให้มณฑลนี้ทำเป็นเรื่อง PPE มณฑลนี้
           ทำเรื่องหน้ากากอนามัย มณฑลนี้ไปเรื่องเครื่องช่วยหายใจ ทุกคนรู้แล้วว่าเมื่อเกิด Pandemic

           ขึ้นมา โรคระบาดขึ้นมาที่ผ่านมาโควิด 19 ไทยไม่พร้อมอะไรบ้าง แล้วในด้านระหว่างประเทศ
           เป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก ผมเป็นรัฐมนตรีตอนที่เรามีไข้หวัดซาร์ระบาด ณ ขณะนั้นทุกประเทศ
           เห็นว่าเราต้องมีความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อที่จะดูแลในเรื่องโรคระบาด เราจัดประชุม

           ผู้นำอาเซียนและจีน ตอนนั้นท่านนายกเวิน เจียเป่าเป็นนายกได้ 48 วัน เราจัดประชุม
           ล่วงหน้า 7 วันเท่านั้น ตัวจริงมาหมดเลยมาประชุมที่กรุงเทพ แล้วเราก็ตกลงเรื่องมาตรการ
           ต่าง ๆ ที่เราจะคัดกรองที่สนามบิน ท่าเรือ สถานีรถไฟ เราจะใช้อย่างไร ทำอะไรอย่างไร
           60 วัน แก้ปัญหาได้หมด แน่นอนว่าโควิด 19 ยิ่งใหญ่กว่าเยอะ แต่ในสิ่งที่ผมอยากจะเทียบคือ
           ว่าช่วงโควิด 19 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือความร่วมมือระหว่างประเทศถูก Put Away

           ต่างคนต่างทำ บางประเทศปิดพรมแดน บางประเทศปิดพรมแดน ปิด ๆ เปิด ๆ บางประเทศ
           ห้ามส่งออกเครื่องช่วยหายใจ ท่านคงจำได้ช่วงแรกหาหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (Surgical
           mask) กันอย่างกับงมเข็มในมหาสมุทร หา PPE กัน ทุกคนต้องช่วยคนละไม้คนละมือ

           ใครมีเพื่อนอยู่ที่ไหน ที่จะเอา PPE เสื้อคลุมปลอดภัยที่จะเข้ามาได้

                 ตรงนี้ก็เป็นคำถามที่ต้องถามว่า เราจะต้อง Restructure เรื่อง Global health
           governance ธรรมาภิบาล ในเรื่องของสุขภาพโลกหรือไม่ เพราะนี่คือ Human Security เป็น
           ความมั่นคงของมนุษย์ ความมั่นคงทางสังคม แล้วเป็นเรื่องความมั่นคงของมนุษย์ ของสังคม

           แล้วถึงเวลามีปัญหาขึ้นมา โลกต่างคนต่างอยู่ใช่หรือไม่ เป็นทิศทางที่เราควรทำหรือ ปัจจัยที่
           ท้าทายที่ 2 คือปัจจัยท้าทายความมั่นคงที่มาจากค่านิยมระหว่างประเทศ ซึ่งทราบกันดีอยู่แล้ว
           ค่านิยมของประชาธิปไตยนั้นมีมานานแล้ว แต่เมื่อไบเดนมาเป็นประธานาธิบดี ต้องยอมรับว่า
           ให้ความสำคัญกับค่านิยมทางด้านประชาธิปไตยมากขึ้น แต่ขณะเดียวกันสหรัฐอเมริกาเอง
           ยังขาดทิศทางอยู่ว่าจะทำอย่างไรเรื่องประชาธิปไตย เพราะในขณะที่ต้องการเป็นมิตรกับ

           ประเทศทั้งหลายในเอเชีย ปรากฏว่าประเทศทั้งหลายในเอเชียยังไม่ได้มีประชาธิปไตยในแบบที่
           อเมริกาคิดว่าจะมี แต่ก็จำเป็นต้องข้องเกี่ยว (Engage) ประเทศในอาเซียน ข้องเกี่ยวประเทศ
     การแสดงปาฐกถานำ   ระหว่างมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 1 อันดับ 2 ของโลก คือจีนกับอเมริกา ฉะนั้น
           ในเอเชียและภูมิภาคอื่น ๆ เพื่อที่จะเดินไปสู่เป้าหมายของการแข่งขันกันในเชิงยุทธศาสตร์


           ประชาธิปไตยเป็นค่านิยมที่อาจจะนำไปสู่สิ่งดี ๆ หลายอย่าง แล้วอาจนำไปสู่สิ่งที่หลายคน
           อาจจะรู้สึกว่าเป็นการแทรกแซงกิจการภายใน ฉะนั้นคำถามที่ชวนคิดคือว่าแล้วเราจะทำอย่างไร
           ให้ประชาธิปไตยมาเป็นส่วนช่วยหรือเป็นหลักในการที่จะช่วยให้แต่ละประเทศนั้นสามารถดูแล
           เรื่องความมั่นคงใหม่ได้ดีที่สุด


                 Professor Ramraj ได้กล่าวถึงหลักธรรมาภิบาลว่าบริษัททั้งหลายใช้ธรรมาภิบาลสังคม
           สิ่งแวดล้อมหรือ Environment  Social Governance ที่เรียกว่า ESG ซึ่งผมเป็นที่ปรึกษาของ
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77