Page 74 - kpiebook66030
P. 74

สรุปการประชุมวิชาการ
           สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
       ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย


           ความร่วมมือ GMS ที่ธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asia Development Bank) เป็นเจ้าภาพ เรายังมี
           ความร่วมมือที่จีนริเริ่มขึ้น เรียกว่าแม่โขง – ล้านช้าง แล้วก็เชิญผู้นำของประเทศลุ่มแม่น้ำโขง
           ไปประชุมที่เมืองซานย่า ไหหลำ แล้วก็เกิดความร่วมมือนี้ขึ้น เราเกิดความร่วมมือที่ญี่ปุ่นเอง
           ก็อยากมีพรมแดนติดกับลุ่มแม่น้ำโขง เรียกว่า Japan – Mekong Cooperation ถึงแม้จะ

           ห่างกัน 6,000   ไมล์ แล้วเราก็มีความร่วมมือที่สหรัฐ ที่อยากมีพรมแดนติดกับลุ่มแม่น้ำโขง
           เรียกว่า Mekong – U.S. Partnership

                 ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียนเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา เกาหลีใต้ก็ขอมีความร่วมมือ
           แต่ความร่วมมือนี้สะท้อนการแข่งขันเชิงกลยุทธ์ (strategic contestation) ของโลกด้วย

           เพราะความร่วมมือแม่โขง – ล้านช้าง เป็นจีนร่วมมือกับประเทศลุ่มแม่น้ำโขง ส่วน Japan –
           Mekong เป็นญี่ปุ่นร่วมมือกับประเทศลุ่มแม่น้ำโขงแต่ไม่มีจีน ขณะที่ Mekong – U.S.
           Partnership สหรัฐร่วมมือกับประเทศลุ่มแม่น้ำโขงแต่ไม่มีจีน และเกาหลีใต้กับลุ่มแม่น้ำโขง

           ร่วมมือกันหมดแต่ไม่มีจีน แล้วเราก็มีความร่วมมือที่ใหญ่ขึ้นมาคือ RCEP ซึ่งท่านทราบ
           กันดีอยู่แล้ว มี 16 ประเทศ เวลานี้มี 15 ประเทศ เหลืออินเดียที่จะตามเข้ามา ซึ่งเป็นเขต
           การค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุด และครอบคลุมทุกเรื่องไม่ใช่การลดภาษีเท่านั้น เป็นเขตการค้าเสรี
           ทุกเรื่องทั้งการลงทุน ทั้งทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งการค้า ทั้งการค้าบริการ


                 เรายังมี CPTPP ที่มาจาก TPP ที่ประธานาธิบดีทรัมป์ท่านไม่ยอมรับ ดังนั้น 11 ประเทศ
           ที่เหลืออยู่จึงทำให้ครอบคลุมขึ้นและก้าวหน้าขึ้น แล้วชวนไทยเข้าไปร่วม เวียดนามก็เข้าร่วม
           มาเลเซียก็เข้าร่วม บรูไนก็เข้าร่วม และยังมี Free - Trade Agreement of the Asia Pacific
           ที่ประธานาธิบดีสี จิ้นผิงอ้างว่าไม่ใช่ข้อเสนอของจีน ซึ่งญี่ปุ่นเคยเสนอมาแล้ว ในช่วงที่มี Anti-

           Globalization จึงนำมารวมกันหมดทั้งเอเชียและแปซิฟิกเรียกว่า Free - Trade Agreement of
           the Asia Pacific  หรือ FTAAP

                 ณ วันนี้ที่ประเทศไทยเป็นประธานเอเปก Deliverable หรือผลลัพธ์หนึ่งที่จะเกิดขึ้นจาก
           การประชุม ซึ่งจะนำไปสู่การประชุมผู้นำอีก 10 วันข้างหน้า คือจะเริ่มการหารือเขตการค้าเสรี

           เอเชีย – แปซิฟิก FTAAP ซึ่งเป็นหนึ่งในผลลัพธ์ของประเทศไทย เรามีเวทีความร่วมมือเอเชีย
           ที่เรียกว่า Asia Cooperation Dialogue ตั้งขึ้นเมื่อมิถุนายน ค.ศ.2002 เป็นความคิดริเริ่มของ
           ประเทศไทย เป็นความร่วมมือ Pan Asia เรื่องแรก ขณะนี้มีอยู่ 30 กว่าประเทศ มีความร่วมมือ
     การแสดงปาฐกถานำ   กัน 6 สาขาใหญ่ รวมเป็น 20 สาขาย่อย โดยทุกฝ่ายมีความสมัครใจที่จะมาทำงานร่วมกัน


           นอกจากเศรษฐกิจเคลื่อนจากพหุภาคีนิยมไปสู่ภูมิภาคนิยมแล้ว การเงินเพื่อการพัฒนา
           ธนาคารโลกออกไปสู่สาขาขององค์กรใหม่ เมื่อปี ค.ศ.2014 ประเทศ BRICS ได้แก่ Brazil
           Russia India China South Africa ตั้ง New Development ขึ้นมา ทำให้โลกเปลี่ยนไปมาก
           สมัยก่อนหากมีธนาคารแบบนี้ขึ้นมา ธนาคารโลกต้องบอกว่าไม่ได้ แต่เมื่อ BRICS Bank

           ตั้งขึ้น ธนาคารโลกยอมรับ จีนตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเอเชียเรียกว่า Asian
           Infrastructure Investment Bank (AIIB) ขึ้นมา เพราะบอกว่าการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79