Page 193 - kpiebook66030
P. 193
สรุปการประชุมวิชาการ 1
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
เป็นเรื่องที่สำคัญรวมทั้งหาวิธีการลดความขัดแย้งคือใช้สิ่งที่เรียกว่า framework วิธีวิทยาหาทาง
เลือกในอนาคต โดยการสร้างเวทีเสวนาร่วมกันทั้งระดับองค์กร ชุมชนกลุ่มประชารัฐ
กลุ่มประชาสังคม กลุ่มธุรกิจ ภาครัฐ เพื่อบริหารจัดการ มีการวางแผนร่วมกัน เกิดการสื่อสาร
ที่มีเป้าหมายรวมกันบนฐานข้อมูลชุดเดียวกัน แล้วก็ศึกษาปัจจัยอนาคตที่มีผลกระทบสูงและ
ก็จะมีโอกาสเกิดสูงอันนี้คือแนวโน้ม (trend) แล้วจากนั้นก็ไปดูปัจจัยในอนาคตที่จะมี
ผลกระทบสูง มีความไม่แน่นอนสูง ทางออกเป็นอย่างไร รวมทั้งข้อเสนอเชิงนโยบายว่า
มีความจำเป็นต้องสานเสวนาประชาสังคมกันอย่างไร มีความจำเป็นเรื่องของการพัฒนาดิจิตอล
มีเรื่องการกระจายอำนาจแบบเครือข่าย มีการรื้อสร้างประเทศไทย เป็นต้น
ขณะนี้ประเทศไทยมีความพยายามที่จะกระจายอำนาจในด้านการจัดการน้ำ เช่น
มีการออกกฎหมายใหม่ ตั้งคณะกรรมการลุ่มน้ำขึ้นแต่ยังมีอุปสรรคนั่นคือระบบการบริหาร
จัดการระหว่างหน่วยงานยังไม่พร้อมต้องปรับเปลี่ยนกฎหมาย วิธีการ งบประมาณให้สอดคล้อง
กันเนื่องจากขาดเอกภาพ ต้องยกเครื่องระบบบริหารราชการครั้งใหญ่ แก้ไขกฎหมาย
ที่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจ มีความกล้าหาญทางการเมือง ประชาชนจะต้องสนับสนุน
พรรคการเมืองที่ต้องการแก้กฎหมายและนโยบายแข่งขันทางการค้า ด้านการพัฒนา
อุตสาหกรรม มีความจำเป็นในการ reskills upskill แรงงานของประเทศไทยมิใช่พึ่งแต่แรงงาน
ต่างชาติ ติดบ่วงกับดักของการที่ผลิตสินค้ามูลค่าต่ำอยู่ตลอดเวลา ต้องทบทวนเรื่อง
ความเท่าเทียมของแรงจูงใจ ซึ่ง EEC ให้ยาวกว่าแรงจูงใจด้านภาษี ยาวกว่านอกเขต EEC
มีปัญหาเรื่องทางเลือกอุตสาหกรรมในอนาคต ประเทศไทยต้องกลับมาทบทวนว่า
ภาคการเกษตรต้องปรับนโยบายการอุดหนุนให้มีเงื่อนไข เช่น มีงานวิจัยกลุ่มเกษตรกร
ที่จังหวัดอุบลราชธานีกับจังหวัดสุพรรณบุรีแล้วได้ผลออกมาตรงกันว่า ถ้ามีการอุดหนุนแบบ
ไม่มีเงื่อนไขเกษตรกรไม่มีแรงจูงใจจะใช้เทคโนโลยีใหม่ เป็นต้น นอกจากนี้ ประเทศไทยจำเป็น
ต้องปฏิรูปยกเครื่อง วิจัยภาพลักษณ์ขนานใหญ่ว่ามีจุดอ่อนอะไร ปรับระบบการส่งเสริมเกษตร
จากที่รัฐดำเนินการ คิด ส่งเสริม ประเมินผลเองเปลี่ยนเป็นรัฐให้เงินอุดหนุนโครงการและ
ประเมิน กลุ่มเกษตรกรร่วมมือกับธุรกิจหรือกลุ่มประชาสังคมเสนอโครงการขึ้นมาให้รัฐ
พิจารณา และสถาบันอุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยมีส่วนสำคัญในการถ่ายทอดฝึกอบรม ต้องมี
การลงทุนและใช้เทคโนโลยีทางด้านเกษตรสมัยใหม่ครั้งใหญ่ ลงทุนเรื่องการพัฒนาคนไม่ใช่
เฉพาะภาคการเกษตร ภาคอุตสาหกรรมก็ต้องทำทั้งสองเรื่องนี้ไปพร้อมกัน
บทสรุป การปฏิรูปโครงสร้างในภาพรวมของประเทศต้องมีการปรับเปลี่ยนกฎ กติกา
สถาบันและนโยบายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งล้วนเป็นงานท้าทายครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ
สมัยใหม่ของประเทศไทย ต้องอาศัยความกล้าหาญทางการเมือง เช่น การทำกิโยตินทาง
กฎหมาย การเปลี่ยนนโยบายการอุดหนุนภาคการเกษตร การสร้างตลาดคาร์บอนภาคบังคับ
ซึ่งจำเป็นต้องเก็บภาษีคาร์บอน การเปลี่ยนนโยบายแข่งขันทางการค้าและการดำเนินงานของ สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 5
คณะกรรมการชุดต่าง ๆ การเข้าร่วมกลุ่มทางเศรษฐกิจ CPTPP เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะเกิดไม่ได้
ถ้าไม่มีความกล้าหาญทางการเมือง ทั้งนี้ประเด็นสำคัญ คือ ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ