Page 190 - kpiebook66030
P. 190
สรุปการประชุมวิชาการ
1 0 สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
ประเด็นที่หนึ่ง ความมั่นคงทางอาหาร ในขณะที่สถานการณ์ความมั่นคงทางอาหาร
ในโลกนั้นน่าเป็นห่วง ประชากรโลกจะเพิ่มถึง 8,000 ล้านคน ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
ในสถานการณ์ภูมิรัฐศาสตร์โลกที่การเดินทางของวัตถุดิบในบริบทโลกปัจจุบันที่อยู่บน
การค้าขายแบบแลกเปลี่ยน ความมั่นคงทางอาหารจึงต้องพิจารณาเรื่องการค้าขายแลกเปลี่ยน
อาหาร นอกจากนี้ยังต้องพัฒนารูปแบบการผลิตอาหาร เช่น การเปลี่ยนแหล่งอาหารที่เป็น
โปรตีนจากเนื้อสัตว์เป็นแมลงที่ให้ผลผลิตเร็วกว่า และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
เป็นต้น
ประเด็นที่สอง ความมั่นคงทางพลังงาน ซึ่งกำลังเป็นปัญหาทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศไทย
มีปัญหาค่าผันแปรไฟฟ้าที่สูงถึง ร้อยละ 51 ซึ่งไม่ถูกต้อง จึงมีความจำเป็นที่ประเทศไทย
จะต้องพิจารณาเรื่องพลังงานทดแทน พลังงานภาคประชาชน และพลังงานเอกชนระดับย่อย
รวมถึงภาครัฐที่ต้องแก้ปัญหาอุปสรรคเรื่องกฎหมาย เพื่อให้กลุ่มเหล่านี้สามารถผลิตพลังงาน
ใช้เองหรือขายให้กับรัฐได้
ประเด็นที่สาม ความมั่นคงในเรื่องความยั่งยืน โดยเฉพาะเรื่อง คาร์บอนเครดิต
ซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพในอุตสาหกรรมคาร์บอนเครดิต ยกตัวอย่าง เช่น จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ที่มีทรัพยากรป่าไม้จำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามประเทศไทยไม่สามารถพัฒนาแค่เพียง
การปลูกป่าได้ แต่จะต้องสร้างมาตรฐานคาร์บอนไดออกไซด์ในกลุ่มประเทศ APEC ให้ได้และ
ในท้ายที่สุดประเทศไทยจะเป็นผู้ขายคาร์บอนเครดิตให้กับภูมิภาคอาเซียน
ประเด็นที่สี่ ความมั่นคงทางการเงิน ประเทศไทยประสบความสำเร็จเนื่องจากมีการวาง
ระบบการเงินมาอย่างดี และมีเทคโนโลยีการซื้อ-ขายโดยไร้เงินสด อย่างไรก็ตาม ประเทศไทย
มีข้อตกลงทางการค้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Free Trade Area Asia Pacific) จำนวนน้อยเกินไป
ทำให้สูญเสียพื้นที่ทางการค้าเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ด้วยกัน
สำหรับประเด็นการพัฒนาอุตสาหกรรมซึ่งควรเป็นยุทธศาสตร์ของประเทศไทยใน
การลงทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพมีอยู่หลายประการ ได้แก่ ประการแรก อุตสาหกรรมรถยนต์
พลังงานไฟฟ้า (EV) การลงทุนในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าเป็นเรื่องที่สังคมไทยควรนำมา
ทบทวนอีกครั้งเนื่องจากความขัดแย้งในอุตสาหกรรมพลังงานยานยนต์นั้นแบ่งออกเป็นสองค่าย
คือการใช้น้ำมันและแบตเตอรี่ไฟฟ้า อย่างไรก็ตามการจะระบุว่ารถยนต์พลังงานไฟฟ้าเป็น
เทคโนโลยีแห่งอนาคตที่สร้างเพื่อการประหยัดพลังงานนั้นก็เป็นมายาคติที่ไม่ถูกต้องเสียทีเดียว
สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 5 เพราะรถยนต์พลังงานไฟฟ้าก็ใช้พลังงานจากไฟฟ้าซึ่งผลิตมาจากเชื้อเพลิงฟอซซิลเช่นกัน
ในเรื่องอุปสงค์ของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าและการลดภาษีของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าเพื่อกระตุ้น
อุปสงค์ของสินค้า อย่างไรก็ตามพบว่าผู้บริโภคต้องประสบปัญหากับเรื่องสถานีจ่ายพลังงาน
โดยส่วนใหญ่มักจะต้องชาร์จไฟฟ้าในที่พักอาศัย ซึ่งเป็น 2 เงื่อนไขหลักที่ต้องศึกษาต่อไป