Page 195 - kpiebook66030
P. 195

สรุปการประชุมวิชาการ   1
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
                                                                                ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย


                   อีกหนึ่งเครื่องยนต์คืออินเดียและเอเชียใต้ GDP รวมกันประมาณ 9 เปอร์เซ็นต์ของ
             เศรษฐกิจของโลก มูลค่า 4.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประชากรประมาณหนึ่งพันแปดร้อยล้านคน
             แต่อัตราการเจริญเติบโตตรงนี้น่าสนใจมาก 20 ปีที่ผ่านมาอินเดียและเอเชียใต้มีอัตรา
             การเจริญเติบโตโดยเฉลี่ยประมาณ 6-7 เปอร์เซ็นต์ ปีที่แล้วอินเดียโต 8.3 เปอร์เซ็นต์

             ปีนี้อินเดียน่าจะโต 7.7 เปอร์เซ็นต์ นี่คือเศรษฐกิจที่ประชากรหนึ่งพันสี่ร้อยยี่สิบล้านคน
             แล้วลองนึกภาพปากีสถาน บังคลาเทศ ศรีลังกา ซึ่งตอนนี้น่าจะลงถึงจุดต่ำสุดแล้ว ข้อดีของ
             การลงถึงจุดต่ำสุดก็คือไม่น่าจะลงไปกว่านี้ได้อีกแล้ว รอขาขึ้นเพราะฉะนั้นตลาดก็เป็นตลาด

             ที่น่าสนใจ ประเทศไทยอยู่อันดับ 23 ของโลกไม่ใหญ่ไม่เล็กเมื่อเทียบกับประเทศในโลก
             เกือบ 200 ประเทศ จะอยู่บนเหนือสุด Quarter แรก แต่ว่าถ้าเทียบกับศักยภาพ อาจจะต่ำไป
             นิดนึง เรามีประชากรประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลก คือ มีประชากร 70 ล้านคน
             โลกมี 7,000 ล้านคน แต่ GDP ของเราประมาณ 0.5 เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นก็ถือว่าเป็น
             เศรษฐกิจขนาดเล็ก แต่ถ้าอยากมีบทบาทมากขึ้นต้องเล่นบทบาทนำในอาเซียน พอเล่นบทบาท

             นำในอาเซียนประเทศไทยก็จะมี GDP ถึง 7 เปอร์เซ็นต์ ประชากร 670 ล้าน หรือ GDP
             ประมาณ 3.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ก็จะใหญ่ขึ้นมาเป็นเบอร์ 5 ของโลกได้ นี่คือผู้เล่น
             ที่มองเห็นโอกาสในโลกาภิวัตน์ ณ ตอนนี้และผู้เล่นตอนนี้มีอเมริกากับยุโรป มูลค่าการค้า

             การลงทุนในปีนี้ปีหน้าทรงตัว สงครามการค้าระหว่างยุโรปกับจีน ระหว่างอเมริกากับจีน
             ก็น่าจะยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง สำหรับอเมริกาตัวยุทธศาสตร์ชาติฉบับรีวิวที่พึ่งออกมาที่เรียก
             National Security เมื่อเดือนตุลาคม 2022 ยังไม่เปลี่ยน กฎหมายที่ออกมายิ่งรุนแรงมากยิ่ง
             ขึ้น เพราะฉะนั้นอเมริกาพยายามที่จะตัดวงจรความผูกพันกับจีนให้ได้มากที่สุด ผ่านสงคราม
             การค้า สงครามเทคโนโลยี จีนเองก็พยายามขยายอิทธิพล เพราะฉะนั้นจีนไม่สามารถค้าขาย

             กับอเมริกากับยุโรปได้โดยตรง ยุโรปกับอเมริกา ไม่สามารถค้าขายกับจีนได้โดยตรง
             เขาต้องหาประเทศที่ 3 ที่มีศักยภาพสูง ณ ตอนนี้ ก็คือมุมของโลกจะเห็นว่า 3 ประเทศที่เป็น
             Rising Star ตอนนี้ก็คือเวียดนาม อินโดนีเซีย อินเดีย แล้วถ้าเกิดมองทั้งกลุ่มอาเซียน

             ประเทศไทยเราก็เกาะอยู่ในกลุ่มนี้ด้วย ในวันที่จีนกำลังขยายอิทธิพล อเมริกาก็ปิดล้อมจีน
             ด้วยยุทธสาสตร์ที่เรียกว่า อินโด – แปซิฟิก เริ่มต้นจากยุทธศาสตร์ชาติระยะยาวของอเมริกา
             national security strategy ปี 2017 ที่มองแล้วพบว่าคือภัยคุกคามในทุกมิติโดยเฉพาะ
             เทคโนโลยี เพราะฉะนั้นเพื่อสร้างอำนาจต่อรองอเมริกาก็ขยายศักยภาพของกองทัพ
             กองบัญชาการภาคพื้นแปซิฟิกก็ upgrade เป็นกองบัญชาการภาคพื้นอินโด - แปซิฟิก

             หลังจากนั้นก็ต้องยุทธศาสตร์อินโด – แปซิฟิกไล่มาตั้งแต่ผู้แทนการค้าสหรัฐ กระทรวง
             กลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ ทำเนียบขาว แล้วก็สร้างพันธมิตรในการปิดล้อม เช่น
             QUAD ที่เป็นกรอบการเจรจาการค้าใหม่ขึ้นมาแล้วที่ชื่อว่า Indo-Pacific Economic

             Framework ซึ่งกำหนดหลักการไว้หลายประเด็น อาทิ Connected Economy  Fair and
             Resilient Trade เป็นเรื่องของการกำหนดมาตรฐานด้านต่างๆ อาทิ มาตรฐานสิ่งแวดล้อม             สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 5
             มาตรฐานแรงงาน มาตรฐาน Human Right  มาตรฐานดิจิตอล ซึ่งมาตรฐานแปลว่าต้นทุน
             ด้านการผลิตจะสูงขึ้น
   190   191   192   193   194   195   196   197   198   199   200