Page 191 - kpiebook66030
P. 191
สรุปการประชุมวิชาการ 1 1
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
ประการที่สอง นิคมเกษตรกรรม คือ เรื่องการรวมแปลงที่ดินเกษตรกรรมจากแปลงเล็ก
เป็นแปลงใหญ่แล้วตั้งเป็นนิคมเกษตรกรรม โดยนิคมเกษตรกรรมแต่ละแห่งต้องนำเสนอ
มีศักยภาพในการผลิตอาหารอันเป็นเอกลักษณ์ประจำภาค พัฒนาจากต้นแบบของกระทรวง
เกษตรและสหกรณ์ที่เคยพยายามสร้างขึ้นมาแต่ไม่สำเร็จเนื่องจากแบ่งย่อยเกินไปเป็น
76 จังหวัด เช่นเดียวกันจะต้องมีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการเกษตรกรรม ไม่ว่าจะ
เป็นเทคโนโลยีดาวเทียมและโดรน ซึ่งหน่วยงานภาครัฐท้องถิ่นสามารถใช้งบประมาณเพื่อจัดหา
เทคโนโลยีการเกษตรเหล่านี้สำหรับเกษตรในนิคมเกษตรกรรมได้ ยกตัวอย่าง ตัวแบบ
ของจังหวัดชัยนาทที่ได้จัดซื้อเครื่องมือการเกษตรทั้งเครื่องมือไถหว่าน ไถกลบ เก็บเกี่ยว
มัดก้อนฟาง ฯลฯ เอาไว้เป็นส่วนกลางแล้วให้เกษตรกรลงชื่อผลัดเปลี่ยนนำไปใช้ และ
ในปัจจุบันยังกำลังพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับเกษตรกรได้ลงชื่อขอใช้เครื่องมือ และสุดท้ายคือ
การต่อยอดผลิตภัณฑ์เป็นเกษตรอุตสาหกรรมหรือเกษตรสกัดเพื่อเวชสำอางค์
ประการที่สาม การพัฒนาศักยภาพด้านเกษตรกรรมของประเทศไทยจะไม่ได้ต่อมา
ที่เรื่องอาหารเพียงอย่างเดียว แต่ยังต่อยอดไปที่สมุนไพรและอุตสาหกรรมยา ดังที่กล่าวไว้
ข้างต้น อุตสาหกรรมยาในประเทศไทยถูกควบคุมโดยองค์การอาหารและยา องค์การเภสัชกรรม
และองค์การสุรา ยกตัวอย่างเรื่องการสกัดอาหาร โดยสารที่เอามาสกัดราคาถูกที่สุดคือ
แอลกอฮอล์ (เอทานอล) เอทานอลในประเทศไทยมีอุปทานถึงวันละ 5 ล้านลิตร ปัจจุบัน
ผู้ผลิตต้องขายเอทานอลให้องค์การสุรา ราคาลิตรละ 25 บาท องค์การสุราจะเติมสี เติมกลิ่น
แล้วก็ขายคืนผู้ผลิต ราคาลิตรละ 57 บาท ทำให้ผู้ผลิตต้องแบกภาระต้นทุน 2 เท่า ซึ่งหาก
ประเทศไทยปลดล็อกโครงสร้างของเอทานอลเหมือนที่เกิดขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของ
โรคโควิด-19 ประเทศไทยจะมีศักยภาพเป็นศูนย์กลางของเอทานอลในอาเซียนหรือแม้แต่
ทวีปเอเชีย ต่อมาจะเห็นว่าประเทศไทยนำเข้าสารตั้งต้นยาระบายมาจากอินเดีย แต่อินเดีย
ซื้อมะขามป้อมจากประเทศไทยไปทำสารตั้งต้น เช่นเดียวกับเวชสำอาง ประเทศไทยส่งออก
เมือกหอยทากไปให้เกาหลีสกัดแล้วทำเป็นเวชสำอางค์ขาย ฉะนั้นแล้วทำไมประเทศไทย
จึงปล่อยให้เรื่องนี้เกิดขึ้น เหตุใดประเทศไทยจึงไม่ได้ลงทุนลงแรงในเรื่องนี้ เพราะด้วยแนวคิด
เรื่องความมั่นคงยาและอาหารเพื่อให้คนจนเข้าถึงยาราคาถูก รัฐจำเป็นต้องสนับสนุนเรื่องยา
และช่วยให้ผู้ผลิตภายในประเทศสามารถขึ้นทะเบียนยาได้
ประการที่สี่ อุตสาหกรรมการประมงและสินค้าฮาลาล ซึ่งอาจพิจารณาจังหวัดสงขลา
เป็นแหล่งศูนย์การการค้าอาหารทะเลแทนจังหวัดสมุทรสาครเนื่องจากมีต้นทุนในการขนส่ง
ที่แตกต่างกัน อีกทั้งจังหวัดสงขลายังมีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางอาหารฮาลาลที่มีขนาด
เติบโตค่อนข้างสูงโดยเฉพาะในประเทศมาเลเซีย หากขยายตลาดอาหารฮาลาลก็จะมีผู้บริโภค
กว่า 7,000 ล้านคน นอกจากนี้รัฐควรลงทุนการเพาะเลี้ยงปลาในกระชัง ซึ่งปัจจุบันสามารถ
ดำเนินการด้วยระบบการควบคุมระยะไกล ทั้งการให้อาหาร การให้ยาและการดูแล สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 5