Page 189 - kpiebook66030
P. 189
สรุปการประชุมวิชาการ 1
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 24
ความท้าทายของความมั่นคงใหม่กับประชาธิปไตย
ก็ออกมาตรการ sanction เช่น เรื่องของเทคโนโลยีที่สหรัฐออกมาล่าสุดทำให้ระบอบเศรษฐกิจ
โลกที่เคยเป็นระบอบเดียวทั่วโลกหยุดและกระจายออกเป็นหลายขั้ว
ทางที่สองหลายประเทศเริ่มมองว่าโลกาภิวัตน์ไม่ใช่ทางออกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ของประเทศ เริ่มกลับไปสู่ประเทศตัวเองมากขึ้นจากเดิม global กลับไปสู่ local จะทำให้
ประเทศดีขึ้นได้อย่างไร กลับไปสู่ความรู้สึกว่าจำเป็นต้องมีความสามารถในการพึ่งพาตัวเอง
และลดการพึ่งพาคนอื่นเพื่อที่จะให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจในระยะยาวซึ่งตรงกันข้ามกับ
แนวคิดของโลกาภิวัตน์ ฉะนั้นเรื่องการเปลี่ยนวิถีการทำธุรกิจ วิถีที่โลกอยู่ด้วยกันจะทำให้
ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น แล้วก็เรื่องบางเรื่องที่ไม่เคยเป็นปัญหาก็กลับมามีปัญหา เช่น ความคงอยู่
ของมนุษยชาติ เรื่องของภาวะโลกร้อน แนวโน้มของ deglobalization หลายประเทศ
มีความเห็นแตกต่างกัน จึงส่งผลประเทศทั่วโลกที่จะจะเข้ามาร่วมแก้ไขปัญหาที่โลกเกิดขึ้น
ได้ยากมาก และทางที่สามคือการเมืองการปกครอง ซึ่งเรากำลังเห็นการเปลี่ยนแปลง เช่น
บางประเทศหรือบางกลุ่มมีการหารือกัน แต่ก็ต้องเลือกว่าจะคุยกับประเทศหรือกลุ่มไหนดี
ส่งผลทำให้ปัญหาที่เกิดทั่วโลกและยากที่จะหาทรัพยากรมาสนับสนุนให้เกิดขึ้นร่วมกัน อันนี้
ก็คือบริบทที่ทั่วโลกประสบอยู่ ระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบที่สามารถให้คำตอบได้
ซึ่งบางช่วงของระยะเวลาอาจมีกระแสหรือ disruption เข้ามาท้าทายเป็นช่วง ๆ แต่ในระยะยาว
ยังเป็นแกนหลักของรูปแบบในการได้มาซึ่งคำตอบว่าควรจะให้ใครแก้ไขปัญหา disruption และ
deglobalization ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดซึ่งเป็นโจทย์ที่ยาก ช่วงนี้จะเห็นว่าประเทศไทย
ค่อนข้างที่จะสถานการณ์ไม่ค่อยสู้ดี ไม่เข้มแข็งเหมือนเดิมใน 3 เรื่อง คือ เรื่องของเศรษฐกิจ
คือถ้าเศรษฐกิจของประเทศดีก็จะทำให้ประเทศมีพลัง เรื่องที่ 2 คือระบอบการเมืองในประเทศ
เรื่องที่ 3 จะเป็นเรื่องของความรู้ความสามารถของคน ซึ่งโดยความคิดเห็นส่วนตัวคิดว่า
เป็นเรื่องที่ภายนอกที่ต่างประเทศมองเข้ามาในประไทย ยกตัวอย่างประเทศในเอเชียที่มีทั้ง
3 เรื่องนี้เข้มแข็งคือ อินเดีย ประเทศไทยจึงควรดำเนินการให้มีความเข้มแข็งใน 3 เรื่องข้างต้น
ซึ่งก็จะนำมาซึ่งประสิทธิภาพและความสมบูรณ์ของประเทศในที่สุด
นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์
จากหัวข้อการประชุมกลุ่มย่อยนี้ ขอกล่าวถึงผลกระทบของประเทศไทยจากปรากฏการณ์
สงครามรัสเซีย-ยูเครน ก็มีพอสมควร อาทิ ผลกระทบในด้านการนำเข้าวัตถุดิบในการผลิต
อาหารบ้างเนื่องจากประเทศไทยนำเข้าข้าวสาลีและอาหารประเภทต่างๆ จากประเทศรัสเซีย
และประเทศยูเครนมากพอสมควร รวมทั้งปุ๋ยก็นำเข้ามาจากประเทศรัสเซีย เพราะฉะนั้น
จึงทำให้ประเทศไทยมีปัญหาเรื่องวัตถุดิบและปัจจัยสำหรับการผลติในภาคเกษตรกรรม
ยกตัวอย่าง เช่น ผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปก็เดือดร้อนเพราะประเทศไทยนำเข้าข้าวสาลีจาก
ประเทศยูเครน ในขณะที่ผู้ส่งออกข้าวสาลีรายอื่น เช่น ประเทศบราซิลและประเทศอินเดีย สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 5
ก็ประกาศว่าไม่ส่งออกข้าวสาลีเนื่องจากผลของสงครามดังกล่าว จากบริบทดังกล่าวมีประเด็น
ความมั่นคงที่ประเทศไทยควรพิจารณา ดังนี้