Page 35 - kpiebook66012
P. 35
19
ของเอกชนในการดูแลและอยู่ในการควบคุมของภาครัฐ โดยมีรายละเอียด
สาระส�าคัญ กล่าวคือ
การคุ้มครองผู้บริโภคหรือมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นการก�าหนด
หน้าที่ให้ผู้ประกอบธุรกิจปฏิบัติตาม ซึ่งในบางกรณีมีกฎหมายอื่นก�าหนดหน้าที่
ของผู้ประกอบธุรกิจในเรื่องนั้นโดยเฉพาะอยู่แล้ว เพื่อมิให้เป็นการซ�้าซ้อนกับ
มาตรการให้ความคุ้มครองตามกฎหมายอื่น พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค
มาตรา 21 ได้บัญญัติว่า
“ในกรณีที่มีกฎหมายว่าด้วยการใด ได้บัญญัติเรื่องใดไว้โดยเฉพาะแล้ว
ให้บังคับตามบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการนั้น และให้น�าบทบัญญัติในหมวดนี้
ไปใช้บังคับได้เท่าที่ไม่ซ�้าหรือขัดกับบทบัญญัติดังกล่าว
ในกรณีที่กฎหมายดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติ ให้อ�านาจแก่เจ้าหน้าที่
ผู้มีอ�านาจตามกฎหมายออกค�าสั่งเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคตามที่บัญญัติไว้
ในหมวดนี้ ให้คณะกรรมการเฉพาะเรื่องมีอ�านาจออกค�าสั่งตามความในหมวดนี้
เว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายดังกล่าวมีเจ้าหน้าที่ผู้มีอ�านาจตามกฎหมายอยู่แล้ว
คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคอาจมอบอ�านาจให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอ�านาจตาม
กฎหมายว่าด้วยการนั้นๆ ใช้อ�านาจตามพระราชบัญญัตินี้แทนคณะกรรมการ
เฉพาะเรื่องได้ นอกจากนี้การมอบอ�านาจให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอ�านาจตามกฎหมาย
ว่าด้วยการนั้นๆ ตามวรรคสองให้ประกาศใช้ราชกิจจานุเบกษา” การก�าหนด
สิทธิของผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งถูกตราไว้
20
ในมาตรา 4 โดยก�าหนดสิทธิของบริโภคที่จะดีรับการคุ้มครอง 5 ประการ
19 มานิตย์ สุธาพร, ลักษณะบางประการของกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค, ดุลพาห เล่มที่ 5
ปีที่ 32, (กันยายน – ตุลาคม, 2528) น. 51.
20 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 มาตรา 4 ผู้บริโภคมีสิทธิได้รับความคุ้มครอง
ดังต่อไปนี้
(1) สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งค�าพรรณาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้า
หรือบริการ
(2) สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ
(3) สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ
35