Page 30 - kpiebook66012
P. 30
ประเทศไทยในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายที่รองรับธุรกรรมในการซื้อขาย
สินค้าทางออนไลน์ที่เป็นหนึ่งในการด�าเนินธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิทัลหรือ
กฎหมายว่าด้วยการควบคุมธุรกิจบริการแพลตฟอร์มในประเทศไทย ด้วยเหตุนี้
หากมีการซื้อขายกันในลักษณะดังกล่าว จึงต้องอาศัยหลักกฎหมายทั่วไปตามที่
บัญญัติไว้ในกฎหมายต่าง ๆ ที่ควบคุมการซื้อขายสินค้า เช่น ประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ กฎหมายคุ้มครองการขายออนไลน์และสิทธิการคุ้มครองผู้บริโภค
ในการซื้อสินค้าผ่านเว็บไซต์ พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น
จากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย และหลักการประกอบธุรกิจออนไลน์ เป็นต้น
จากที่กล่าวไว้ในข้างต้นประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่ควบคุมในเรื่องของ
การด�าเนินธุรกิจแพลตฟอร์มเป็นการเฉพาะ แต่อาศัยการน�าหลักกฎหมายที่ใกล้เคียง
อย่างยิ่งหรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องในเรื่องของการท�าธุรกรรมทางการเงินในการซื้อขาย
สินค้าออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัล หรือการน�าหลักกฎหมายทั่วไปเกี่ยวกับ
การซื้อสินค้าและบริการมาปรับใช้ เพื่อให้สามารถก�ากับดูแลการประกอบธุรกิจ
ในระบบดิจิทัลได้ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามการก�ากับดูแลต่าง ๆ ยังไม่สามารถ
ครอบคลุมการด�าเนินงานของตัวกลางในการท�าธุรกรรมทางดิจิทัล (Service Provider)
ได้อย่างมีประสิทธิที่ภาพด้วยขาดกฎหมายอันมีลักษณะเป็นการเฉพาะท�าให้
ขาดนิติสัมพันธ์ในการจะน�ากฎหมายทั่วไป หรือใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับใช้ได้
ซึ่งปัจจุบันหากเป็นกรณีพิพาทด้วยการซื้อสินค้าหรือบริการต่างๆ ผ่านระบบดิจิทัล
อาจจะสามารถน�ากฎหมายดังจะกล่าวต่อไปนี้มาปรับใช้แก่กรณีพิพาทดังกล่าวได้
2.1 หลักกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ว่าด้วยเรื่องการซื้อขายมาปรับใช้และควบคุมในเรื่อง
การซื้อขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 453 บัญญัติว่า “อันว่าซื้อขายนั้นคือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง
เรียกว่าผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ซื้อ
และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย”
30 การควบคุมธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล