Page 34 - kpiebook66012
P. 34
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
กฎหมายรัฐธรรมนูญ มีบทบัญญัติออกมาเพื่อป้องกันสิทธิเสรีภาพของ
ประชาชนแต่ละคน เพื่อมิให้ใครคนอื่นมาละเมิดสิทธิที่มีอยู่ รวมไปถึงการป้องกัน
ผลประโยชน์อันจะเกิดแก่ประชาชน ดังนั้น ในเรื่องของการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค
กฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้แยก ‘สิทธิผู้บริโภค’
ไว้สองส่วน ส่วนแรกอยู่ใน ‘หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย’ มาตรา 46
ซึ่งระบุว่า “สิทธิของผู้บริโภคย่อมได้รับการคุ้มครอง” นอกจากนี้แล้วก็ให้สิทธิ
ในการรวมตัวจัดตั้งองค์กรเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค แม้ผู้บริโภคมีสิทธิได้รับการคุ้มครอง
และมีสิทธิในการรวมตัวกันจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค แต่ยังต้องท�า
โดยรัฐเป็นผู้ให้การสนับสนุนหลักเกณฑ์ วิธีการจัดตั้ง อ�านาจในการเป็นตัวแทน
ของผู้บริโภค
ส่วนที่สองอยู่ใน ‘หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ’ มาตรา 61 ก�าหนดให้รัฐต้องมี
มาตรการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคด้านการรับรู้ข้อมูลที่เป็นจริง ด้านความปลอดภัย
ด้านความเป็นธรรมในการท�าสัญญา หรือด้านอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค
ดังนั้นการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคในด้านต่างๆ ตามมาตรา 61
ไม่ว่าจะเป็นด้านการซื้อสินค้าทุกประเภท และสิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสาร
ด้านการที่ผู้บริโภคควรจะได้รู้ถึงข้อมูลที่เป็นจริง รวมถึงข้อมูลที่ควรจะรู้
ด้านความปลอดภัย ด้านความเป็นธรรมในการท�าสัญญา หรือด้านอื่นใดอันเป็น
ประโยชน์ต่อผู้บริโภค
2. พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคมีลักษณะเป็นกฎหมายคุ้มครองสิทธิ
ผู้บริโภคและหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจ โดยมีองค์กรภาครัฐเข้ามาท�าหน้าที่ควบคุม
และด�าเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติและมีผลทั้งทางแพ่งและอาญา จึงกล่าวได้ว่า
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภคมีลักษณะเป็นกฎหมายกึ่งมหาชน เพราะเป็นหน้าที่
34 การควบคุมธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล