Page 37 - kpiebook66012
P. 37
หรือขายสินค้า ระงับ ลด จ�ากัดการบริการ การผลิต การซื้อ การจ�าหน่าย
การส่งมอบ การน�าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และ
การแทรกแซงการประกอบธุรกิจของผู้อื่นโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
ในกรณีดังกล่าวข้างต้น พระราชบัญญัติการแข่งขันทางการค้าจึงก�าหนด
มาตรการเพื่อป้องกันการผูกขาดทางการค้าโดยห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิจซึ่งมีอ�านาจ
เหนือตลาดก็ดี ผู้ประกอบธุรกิจใดซึ่งร่วมกับผู้ประกอบธุรกิจอื่นก็ดี ผู้ประกอบธุรกิจ
ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจซึ่งอยู่นอกราชอาณาจักรก็ดี กระท�าการใดๆ อันเป็น
การผูกขาด ลดการแข่งขัน จ�ากัดการแข่งขันในตลาดสินค้าหรือบริการ หรือกระท�า
การอื่นใดอันมิใช่การแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม รวมทั้งกระท�าการรวมธุรกิจ
อันอาจก่อให้เกิดการผูกขาด หรือความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันและมีผล
เป็นการท�าลาย ท�าให้เสียหาย ขัดขวาง กีดกัน จ�ากัดการประกอบธุรกิจ เว้นแต่จะได้รับ
อนุญาตจากคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า
จากหลักกฎหมายในข้างต้นกล่าวมานั้นเป็นหลักกฎหมายที่ประเทศไทย
น�ามาปรับใช้และควบคุมการท�าธุรกรรมทางออนไลน์ในการซื้อขายสินค้า
ผ่านแพลตฟอร์ม ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่น�ามาควบคุม
หรือก�ากับดูแลการด�าเนินธุรกิจดิจิทัลจึงน�าไปสู่ปัญหาที่ในปัจจุบันผู้ใช้บริการ
แพลตฟอร์มพบปัญหาจากการซื้อขายบนแพลตฟอร์มดิจิทัลจ�านวนมาก จากข้อมูล
สถิติการเข้าแจ้งความร้องทุกข์ ศูนย์บริการประชาชน ศูนย์บังคับการปราบปราม
การกระท�าความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ช่วงปี พ.ศ. 2561 – 2564
พบว่า ประเด็นที่มีการแจ้งความด�าเนินมากที่สุดคือความผิดฐานหมิ่นประมาท
อันดับที่ 2 คือประเด็นเรื่องการถูกขโมย/ปรับเปลี่ยน หรือท�าลายข้อมูลคอมพิวเตอร์
และอันดับที่ 3 คือประเด็นเรื่องการหลอกขายบริการ โดยในปี พ.ศ. 2564
มีผู้แจ้งความจ�านวน 445 ราย ความเสียหายประมาณ 45 ล้านบาท ทั้งนี้ ช่องทาง
ที่ถูกร้องเรียนมากที่สุด คือ Facebook และ Line จากปัญหาการใช้งานแพลตฟอร์ม
ดิจิทัลดังกล่าวที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ประเทศไทยเองก็ก�าลังจะมีกฎหมาย
เพื่อควบคุมดูแลธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลเช่นเดียวกันกับสหภาพยุโรป
โดยล่าสุด ส�านักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ได้มีเสนอร่างพระราชกฤษฎีกา
ว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. ....
37