Page 38 - kpiebook66012
P. 38
ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อก�ากับดูแลธุรกิจบริการ
แพลตฟอร์มที่ให้บริการในไทย ทั้งที่ตั้งอยู่ในไทยและต่างประเทศ โดยได้ก�าหนด
หน้าที่ให้แพลตฟอร์มดิจิทัลต้องแจ้งข้อมูลการประกอบธุรกิจก่อนการให้บริการ
ในประเทศ แก่ส�านักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และก�าหนดหน้าที่
ความรับผิดชอบของแพลตฟอร์มต่อผู้ใช้บริการ อาทิ การแจ้งข้อก�าหนดหรือเงื่อนไข
ก่อนการให้บริการ การแจ้งข้อมูลช่องทางการติดต่อ รวมถึงการมีมาตรการก�ากับ
ดูแลเนื้อหาที่ผิดกฎหมายบนแพลตฟอร์มด้วย นอกจากนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าว
ได้มีการก�าหนดหน้าที่ของแพลตฟอร์มดิจิทัลขนาดใหญ่ในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับ
อัลกอริทึมที่ใช้ส�าหรับการเสนอสินค้าหรือบริการต่อผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล
เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการด�าเนินธุรกิจและเป็นธรรมต่อผู้ประกอบธุรกิจ
รายอื่นๆ จะเห็นได้ว่า โดยร่างพระราชกฤษฎีกานี้ ได้อ้างอิงหลักการจากกฎหมาย
ของสหภาพยุโรป คือ ร่างพระราชบัญญัติการบริการดิจิทัล (DSA)
4. ร่างพระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์ม
ดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบพ.ศ. ....
ปัจจุบันรูปแบบการให้บริการของแพลตฟอร์มดิจิทัลได้มีการพัฒนา
ในหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ส�าหรับการซื้อขายสินค้าและบริการ พื้นที่ส�าหรับ
การโฆษณาสินค้าและบริการ และพื้นที่ส�าหรับผู้ผลิตคอนเทนต์ต่างๆ เป็นต้น
ซึ่งรูปแบบธุรกิจของแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ขยายขอบเขตกว้างขึ้นส่งผลให้
ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มไม่สามารถดูแลข้อมูลที่เข้าสู่แพลตฟอร์ม รวมถึงผู้ใช้บริการ
แพลตฟอร์มได้อย่างทั่วถึง และในปัจจุบันช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19
ที่การด�าเนินชีวิตต้องรักษาระยะห่าง กิจกรรมในชีวิตประจ�าวันของเราถูกย้ายไปอยู่
บนโลกเสมือนจริง บทบาทของโลกออนไลน์มีความส�าคัญมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
ในสังคมปัจจุบัน เช่น การซื้อของ สั่งอาหาร หรือท�าธุรกรรมทางการเงิน
จึงน�าไปสู่ความพยายามของภาครัฐที่จะเข้ามาจัดระเบียบและควบคุมสิ่งที่เกิดขึ้น
ในพรมแดนใหม่นี้ อย่างไรก็ดี การออกกฎหมายเพื่อควบคุมแพลตฟอร์มดิจิทัลนี้
จะต้อง “หาจุดสมดุล” ระหว่างความปลอดภัยของผู้ใช้งานกับความสะดวก
38 การควบคุมธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล