Page 40 - kpiebook66012
P. 40
จากนิยามข้างต้นนี้มีลักษณะที่เปิดให้มีการตีความได้กว้างขวาง ซึ่งหาก
แพลตฟอร์มท�าหน้าที่เป็นพื้นที่กลางที่ผู้ประกอบการและผู้บริโภค หรือคนซื้อ
กับคนขายมาเจอกัน แม้ว่าจะไม่มีกาจ่ายเงินหรือการท�าธุรกรรมใดๆ เกิดขึ้น
ก็สามารถเข้าข่ายการเป็น “บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล” ได้ และไม่จ�ากัดขนาด
ของกิจการว่าจะต้องมีเงินลงทุนมากน้อยเท่าใด มีผู้ใช้บริการเท่าใด มีรายได้
จากการด�าเนินธุรกิจมากน้อยเท่าใด ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มที่เกิดขึ้นบน
โลกออนไลน์สามารถเข้าข่ายนิยามของพระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจ
บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. .... นี้ได้หมด ซึ่งขอบเขต
นิยามของ “บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล” ของพระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจ
บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. .... มีดังนี้
1. การให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลในลักษณะที่เป็นสื่อกลาง
2. มีพื้นที่ให้ผู้ประกอบการบนแพลตฟอร์มดิจิทัลและผู้บริโภคเชื่อมต่อกัน
โดยการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์
ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจที่เป็นผู้ประกอบการบนแพลตฟอร์มแต่เพียงผู้เดียว
(E-tailer) จะไม่อยู่ภายใต้การก�ากับของกฎหมายนี้ เช่น Brand.com อย่างไรก็ตาม
ถ้าหากมีการเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจโดยให้บุคคลภายนอกสามารถเป็นผู้ประกอบการ
บนแพลตฟอร์มได้ ก็จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายนี้
4.1 การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล
ในการประกอบธุรกิจหรือด�าเนินธุรกิจดิจิทัลนั้นตามร่างพระราชกฤษฎีกา
การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบพ.ศ. .... ได้ระบุ
วิธีการหรือกฎเกณฑ์ไว้ตามมาตรา 8 ว่าการให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล
ซึ่งมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ เป็นธุรกิจบริการที่ต้องแจ้งให้ส�านักงาน
ทราบก่อนการประกอบธุรกิจ
1. บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายจากการให้บริการ
แพลตฟอร์มดิจิทัลในราชอาณาจักรเกินหนึ่งล้านแปดแสนบาทต่อปี
ในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นบุคคลธรรมดา
40 การควบคุมธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล