Page 31 - kpiebook66012
P. 31
ในชีวิตประจ�าวันของบุคคลธรรมดาจะต้องมีการท�าสัญญากัน อันได้แก่
สัญญาซื้อขาย จะเห็นได้ว่าการซื้อขายที่ท�ากันโดยปกติทั่วไปไม่ได้มีปัญหา
หรือความสลับซับซ้อนที่ต้องท�าให้ค�านึงถึงกฎหมายในเรื่องของสัญญาซื้อขาย
แต่เนื่องจากการซื้อขายทรัพย์สินบางอย่างในปัจจุบันอาจเป็นสินทรัพย์ที่มีราคาค่างวด
หรือมีความส�าคัญต่อชีวิตของบุคคล กฎหมายจึงก�าหนดวิธีการในการซื้อขาย
ทรัพย์สินดังกล่าวไว้เป็นพิเศษ กล่าวคือ สัญญาซื้อขายทรัพย์สินดังกล่าวจะต้อง
ท�าเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อการซื้อขายที่จะไม่พบ
ปัญหาในทางกฎหมายกันภายหลัง เนื่องจากมีหลักฐานในการซื้อขายกันอย่างชัดเจน
อีกทั้งยังสามารถระบุได้ว่าบุคคลใดเป็นเจ้าของทรัพย์สินดังกล่าว การซื้อขาย
ทรัพย์สิน ยกตัวอย่างเช่น การซื้อขายบ้านและที่ดิน เป็นต้น
สัญญาซื้อขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยสังหาริมทรัพย์
มาตรา 456 วรรคสาม "การซื้อขายสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่ 20,000 บาทหรือกว่านั้น
หากไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับผิดหรือวางประจ�า หรือช�าระหนี้
บางส่วน จะฟ้องร้องบังคับคดีไม่ได้ ในทางกลับกันนั้น หากการซื้อขายสังหาริมทรัพย์
ที่มีราคาน้อยกว่า 20,000 บาท ลงมา แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ
ผู้รับผิด หรือวางประจ�า หรือช�าระหนี้บางส่วนก็สามารถฟ้องบังคับกันได้"
การโอนความเป็นเจ้าของในทรัพย์สินที่ซื้อขายนั้นให้แก่ผู้ซื้อ และเมื่อผู้ซื้อ
ได้เป็นเจ้าของในทรัพย์สินนั้นก็สามารถที่จะใช้และรับผลประโยชน์หรือจะขายต่อไป
อย่างไรก็ได้ ส�าหรับเรื่องราคาทรัพย์สินจะช�าระเมื่อไรนั้นเป็นเรื่องที่ผู้ซื้อผู้ขาย
จะต้องตกลงกัน ถ้าหากตกลงกันให้ช�าระราคาทันทีก็จะเป็นการซื้อขายเงินสด
หรือหากตกลงกันช�าระราคาในภายหลังในเวลาใดเวลาหนึ่งเพียงครั้งเดียวตามที่
ตกลงกันก็เป็นการซื้อขายเงินเชื่อ หรือถ้าผ่อนช�าระให้กันเป็นครั้งคราวก็เป็นการ
ซื้อขายเงินผ่อน
อย่างไรก็ตาม โดยปกติในการท�าสัญญาซื้อขายทรัพย์สินนั้น ทันทีที่ท�า
สัญญากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชิ้นนั้นก็จะโอนไปยังผู้ซื้อทันทีแม้ว่าจะยังไม่ได้ส่งมอบ
ทรัพย์สินชิ้นนั้นให้ผู้ซื้อ หรือแม้ผู้ซื้อจะยังไม่ได้ช�าระเงินค่าทรัพย์สินนั้นก็ตาม
ผู้ซื้อก็ได้ความเป็นเจ้าของไปแล้ว ยกเว้นแต่ในกรณีของการซื้อเงินผ่อนนั้น
31