Page 23 - kpiebook66012
P. 23
16
อิเล็กทรอนิกส์ทั่วไปแต่เป็นกลไกผ่านทางพื้นที่ให้บริการ (Marketplace Platform)
โดยอาจมีผู้ควบคุมก�ากับดูแล (Regulator) ผู้ให้บริการพื้นที่อีกระดับหนึ่ง
ในปัจจุบันกฎหมายของประเทศไทยที่รองรับกลไกการประกอบกิจการ
P2P ผ่านรูปแบบการให้บริการ Platform ที่มีความชัดเจนเป็นรูปธรรม กล่าวคือ
กฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจระบบหรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ส�าหรับธุรกรรมสินเชื่อ
ระหว่างบุคคลกับบุคคล อยู่ภายใต้การก�ากับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) และกฎหมายเกี่ยวกับการเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบคราวด์ฟันดิง
(Crowdfunding) อยู่ภายใต้การก�ากับดูแลของส�านักงานคณะกรรมการก�ากับ
หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) อย่างไรก็ตาม กลไกทางกฎหมายที่น�า
มาปรับใช้กับการประกอบธุรกิจประเภทแพลตฟอร์มดิจิทัลนั้น ประเทศไทย
ยังไม่มีการตรากฎหมายที่มีลักษณะเป็นการเฉพาะเพื่อใช้ในการก�ากับดูแล
การประกอบกิจการในลักษณะนี้ ซึ่งปัจจุบันจะเป็นการอาศัยมาตรการทางกฎหมาย
ใกล้เคียงตามบริบทข้อเท็จจริงต่างๆ ในการบังคับใช้แก่กรณีที่เกิดปัญหาขึ้น
ที่มีส่วนสัมพันธ์กับธุรกิจแพลตฟอร์ม ซึ่งกล่าวได้ว่ายังไม่ครอบคลุมในประเด็น
ต่างๆ อาทิ มาตรการในการคุ้มครองผู้ใช้บริการ การวางแนวทางของกฎหมาย
เพื่อส่งเสริมความโปร่งใสและเป็นธรรมในการประกอบธุรกิจ หรือการก�าหนด
วิธีการในการชดใช้หรือเยียวยาในความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการใช้บริการ
ผ่านธุรกิจแพลตฟอร์ม เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยควรมีกลไกในการก�ากับดูแล
บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนา (ร่าง) พระราชกฤษฎีกา
การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. …. เพื่อเป็นกลไก
ในการขับเคลื่อนนโยบายด้านการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ ตลอดจน
ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนามาตรฐานหรือหลักเกณฑ์ในการให้บริการ ซึ่งมีโครงร่าง
ส�าคัญในแนวทางเพื่อก�ากับดูแลธุรกิจแพลตฟอร์ม เช่น
(1) บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ต้องมีความโปร่งใสและเป็นธรรม
(2) บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลมุ่งเน้น ก�ากับดูแลบริการแพลตฟอร์ม
16 Model ธุรกิจที่เราจับผู้ซื้อกับผู้ขายมาเจอกันบนสิ่งที่เรียกว่า Platform
23