Page 22 - kpiebook66012
P. 22
ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล ในฐานะตัวกลางซึ่งมีอ�านาจจัดการเป็นผู้คอยประสาน
ข้อเรียกร้อง ตรวจสอบและบังคับ การให้นิติสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นบนแพลตฟอร์ม
เป็นไปโดยสอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องเท่าที่จะสามารถท�าได้ในชั้นต้น โดยใช้
มาตรการบังคับการให้ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล อีกทั้งพบว่ามีผู้ประกอบกิจการ
บางรายประกอบธุรกิจ ในฐานะตัวกลางที่ผูกขาดอ�านาจเหนือตลาดอย่างที่
ไม่เคยปรากฏมาก่อนจนเสี่ยงที่จะก่อพฤติกรรมที่เป็นการประกอบธุรกิจที่เอาเปรียบ
อย่างการก�าหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการให้บริการอย่างไม่เป็นธรรม
และกระทบต่อสิทธิของผู้บริโภค ซึ่งบุคคลผู้ประกอบธุรกิจบนแพลตฟอร์มนั้น
อ�านาจต่อรองทางเศรษฐกิจที่น้อยกว่า ซึ่งการก�ากับดูแลธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิทัล
เป็นประเด็นที่น่าสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในต่างประเทศมีแนวทางการพัฒนา
มาตรการทางกฎหมายเพื่อก�าหนดทิศทางในการก�ากับดูแลในประเด็นต่างๆ
โดยพิจารณาประเด็นที่ส�าคัญ คือ การจัดการระบบดิจิทัล, ลิขสิทธิ์, ข้อมูลส่วนบุคคล
(Personal Data), ความปลอดภัยและอาญากรรมทางไซเบอร์ (Cyber Crime and security),
การแข่งขันทางการค้า ซึ่งเป็นแนวทางในการสร้างสภาพแวดล้อมทางดิจิทัล (Digital
Environmental) ที่เหมาะสม นอกจากนี้ปัจจัยอีกประการหนึ่งของการให้บริการ
แพลตฟอร์มโดยส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นธุรกิจแพลตฟอร์มข้ามชาติที่มีสถานประกอบ
กิจการถาวรในสถานที่อื่นที่ไม่ใช้ที่ตั้งของธุรกิจแพลตฟอร์มนั้นๆ ฉะนั้นการที่
จะก�าหนดแนวทางหรือมาตรการในการก�ากับดูแลนั้นจ�าเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง
พิจารณาร่วมกับแนวทางและยุทธศาสตร์เป้าประสงค์ของรัฐที่มีต่อธุรกิจแพลตฟอร์ม
เป็นประกาศส�าคัญ
นอกจากนี้ จากการศึกษารูปแบบการประกอบกิจการภายใต้กฎหมายของ
ประเทศไทยที่มีลักษณะรูปแบบการประกอบกิจการบุคคลต่อบุคคล หรือ Peer to
Peer (P2P) โดยตรง แม้เดิมการขายสินค้าของบุคคลต่อบุคคลจะมีลักษณะเป็น
การประกอบธุรกิจอย่างการซื้อมาขายไปของผู้บริโภคซึ่งมีหลักกฎหมายทั่วไป
ในการควบคุมทั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
เป็นต้น อย่างไรก็ตามปัจจุบันการประกอบกิจการมีวิวัฒนาการก้าวกระโดดผ่าน
โครงข่ายอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น และรวมถึงการประกอบธุรกิจในลักษณะผ่านกลไก
การประกอบธุรกิจในลักษณะ P2P มีลักษณะแตกต่างไปจากการซื้อขายผ่านช่องทาง
22 การควบคุมธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล