Page 147 - kpiebook66003
P. 147

146   การศึกษาเพื่อถอดบทเรียนและพัฒนาตัวแบบโรงเรียนแห่งความซื่อตรง



                   3) การบรรยายเรื่องความซื่อตรง เป็นการบรรยายเรื่อง

          ความหมาย ขอบเขต และลักษณะของความซื่อตรง โดยวิทยากรหลัก
          ได้เริ่มจากการสอบถามถึงเอกสารเล่มการ์ตูนเรื่องความซื่อตรงที่
          สถาบันพระปกเกล้าส่งไปให้ นักเรียนสามารถประเมินตนเองเกี่ยวกับ

          ความซื่อตรงซึ่งมีบททดสอบอยู่ท้ายเล่ม

                   ความซื่อตรงคือการยึดมั่นในความถูกต้อง การไม่คดโกง ไม่มี

          เล่ห์เหลี่ยม ตรงไปตรงมา จริงใจ ปฏิบัติตนดีอย่างสมำ่าเสมอ ยึดมั่นใน
          ความดีงาม ยุติธรรม ฯลฯ ซึ่งบัตรคำาที่นักเรียนได้ร่วมกันทำาในกิจกรรม
          ก่อนหน้านี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับความซื่อตรงอยู่หลายบัตรคำาเช่นกัน


                   ความเป็นมาเกี่ยวกับความซื่อตรง มีภาพพระบรมฉายาลักษณ์
          กษัตริย์ไทยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว วิทยากรให้นักเรียนทาย

          หรือตอบว่าพระมหากษัตริย์มีพระนามว่าอะไร (นักเรียนที่ตอบถูกจะได้รับ
          รางวัล เพราะพระบรมฉายาลักษณ์และหลักราชการของพระองค์ท่านปรากฏ
          ในหนังสือการ์ตูนที่นักเรียนได้รับไปแล้ว) ซึ่งพระองค์ได้กล่าวถึงหลักราชการ

          ที่เกี่ยวข้องกับความซื่อตรง ได้แก่ ความซื่อตรงต่อตนเอง (ตรงไปตรงมา
          พูดความจริง ยึดมั่นความสัตย์จริง ยึดสิ่งถูกต้องดีงาม) ความซื่อตรงต่อหน้าที่

          (เมื่อได้รับมอบงานแล้วทำาด้วยความซื่อสัตย์ ทำาการบ้านเอง ทำางานเต็มที่
          เพื่อให้งานสำาเร็จ) ความซื่อตรงต่อบุคคลทั่วไป (ทำาตามคำาพูดที่ให้ไว้
          ไม่ขอเลื่อนเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ ไม่เอาเปรียบผู้อื่น ไม่ยกตนข่มท่าน

          ไม่เบ่ง ไม่เอาดีใส่ตัวเอาชั่วใส่ผู้อื่น) เห็นได้ว่าความซื่อตรงนั้นอยู่ในวิถีชีวิต
          ประจำาวันของทุกคนอยู่แล้ว


                   สำาหรับสิ่งที่เรียกว่าไม่ใช่ความซื่อตรง วิทยากรนำาภาพเกี่ยวกับ
          ความไม่ซื่อตรง เช่น คนกำาลังยื่นเงินอยู่ใต้โต๊ะ การคอรัปชันในโครงการ

          สิ่งปลูกสร้าง ภาพการโกงข้อสอบแบบใหม่ ฯลฯ แล้วถามนักเรียนว่า
   142   143   144   145   146   147   148   149   150   151   152