Page 395 - kpiebook65063
P. 395
6.2) การตรวจประเมินการปฏิบัติงาน (Auditing)
การทวนสอบประสิทธิภาพ WSP เป็นการสร้างความมั่นใจว่า WSP ยังทำงานได้อย่างเหมาะสม
6.3) ผลสำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภค
ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19 เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าน้ำประปาสะอาด ปลอดภัย และเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคตลอดเวลา
7) การทวนสอบประสิทธิภาพของ WSP (Verify the effectiveness of WSP)
กิจกรรมที่สำคัญที่จะยืนยันประสิทธิภาพของ WSP ประกอบด้วย
7.1) การตรวจสอบให้เป็นไปตามระเบียบ และข้อกำหนดในเรื่องคุณภาพน้ำ
7.2) การตรวจประเมินการปฏิบัติงาน (Auditing)
7.3) ผลสำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภค
8) การจัดทำขั้นตอนการบริหารจัดการ (Prepare management procedures)
การกำหนดวิธีมาตรฐานในการบริหารจัดการเป็นลายลักษณ์อักษร ประกอบด้วย มาตรฐาน
การ ปฏิบัติงาน (Standard Operating Procedures หรือ SOPs) ทั้งในสภาวะปกติ และ
การแก้ไขในภาวะไม่ปกติควรจัดทำโดยทีมงานที่มีความรู้ความชำนาญ รวมถึงการจัดทำระบบ
ส่วนที่ บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
ควบคุมเอกสาร เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ปฏิบัติงานมีเอกสารที่จำเป็นไว้ใช้งานอย่างครบถ้วน และเอกสาร
ต้องทบทวนให้มีความเหมาะสมกับสภาพปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอ
9) จัดให้มีโครงการสนับสนุน (Develop supporting programs) เป็นกิจกรรมต่าง ๆ
ที่จัดขึ้นมา เพื่อช่วยสนับสนุนให้การขับเคลื่อนกิจกรรม WSP เกิดผลสำเร็จโครงการเหล่านี้ ได้แก่
การสอบเทียบเครื่องมือ เพื่อให้การตรวจวัดค่าต่าง ๆ ในการควบคุมการผลิต และส่งน้ำประปา
มีความถูกต้องแม่นยำ การบำรุงรักษาอุปกรณ์เพื่อป้องกันการชำรุด หรือหยุดชะงัก การรักษา
ความสะอาด และสุขลักษณะการปฏิบัติงานเพื่อให้น้ำประปาปราศจากสิ่งปนเปื้อน ลดปัญหา
ข้อร้องเรียนด้านคุณภาพน้ำ อาจเป็นโครงการที่คิดขึ้นใหม่หรือปรับปรุงโครงการที่มีอยู่เดิม
ให้เข้มข้นจริงจังมากขึ้น
10) การทบทวนแผนน้ำประปาปลอดภัย (Plan and carry out periodic review of
WSP) ทีมงาน WSP ควรประชุมทบทวน WSP เป็นระยะอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่า WSP
ยังคงถูกต้องเหมาะสมและใช้งานได้ดี คำนึงถึงความเสี่ยงใหม่ ๆ ที่อาจเกิดขึ้นทุกครั้งที่มี
การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในระบบงานประปา เช่น การใช้แหล่งน้ำดิบใหม่ การเปลี่ยนสารเคมีที่ใช้
ตกตะกอน การปรับปรุงระบบการผลิตน้ำใหม่
สถาบันพระปกเกล้า