Page 391 - kpiebook65063
P. 391

ตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฤดูการในเขตภูมิภาค ในช่วงฤดูฝน

           มีจำนวนฝนที่ตกและปริมาณฝนที่ไม่แน่นอน และส่วนหนึ่งในการขาดแคลนน้ำอาจเกิดจาก
           การบริหารการใช้แหล่งน้ำที่ใช้ในการอุปโภคที่ผิด โดยสาเหตุส่วนใหญ่คือการไม่วางแผนการใช้น้ำ
     ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19   ในอุตสาหกรรมในพื้นที่ จากสาเหตุทางธรรมชาติและการบริหารจัดการที่ผิดนั้นทำให้เกิดภัยแล้ง
           ของคนในชุมชนและสัดส่วนที่ชัดเจนในการใช้ทางเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมการขยายตัว


           ในภาคตตะวันออกเฉียงเหนือ


                 จากสภาพปัญหาภัยแล้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถือเป็นความจำเป็นที่ต้องพัฒนา
           และแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วิธีแก้ปัญหาภัยแล้งทั้งในระยะยาวและ

           ระยะสั้นมีหลายวิธี โดยพบว่าวิธีที่จะสามารถนำมาแก้ไขพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้คือ
           การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและการจัดการตามสภาพของพื้นที่ภูมิศาสตร์ในแต่ละปี โดยใช้

           งบประมาณจากทางภาครัฐ และเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการน้ำ
           เพื่อช่วยเหลือเบื้องต้นในการบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประสบภัยแล้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
           แนวโน้มการจัดการน้ำแบบยั่งยืน คือ การนำกฎหมายที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับระบบน้ำ เช่น

           การบริหารทรัพยากรน้ำ ส่งเสริมสิ่งแวดล้อม ชลประทาน ปฏิรูปที่ดินการเกษตร บูรณาการแบบ
           ยั่งยืนและจัดทำแผนบริหารการจัดการน้ำเพื่อผลในระยะยาวและเพียงพอต่อการอุปโภค
     ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
           อุตสาหกรรมและการเกษตรได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

                 เพื่อศึกษาวิจัยและถอดบทเรียนการบริหารงาน และนวัตกรรมที่โดดเด่นขององค์การ

           บริหารส่วนตำบลเทศบาลท่าคันโทที่ได้รับรางวัลพระปกเกล้าในปี 2564 ในการจุดประกาย
           ความคิดและเป็นตัวอย่างให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วไปนำไปประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องเหมาะสม
           กับบริบทในพื้นที่ของตน


                 พื้นที่เทศบาลตำบลท่าคันโท มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มริมเขตชลประทานลำปาว
           มีลำห้วยท่าคันโทไหลผ่านกลางพื้นที่ซึ่งแบ่งเขตระหว่างบ้านนาตาลและบ้านคันโท พื้นที่ตำบล
           ท่าคันโททั้งตำบลและบางส่วนของตำบลนาตาล นั้นมีอาณาเขตตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

           ของจังหวัดกาฬสินธุ์  ห่างออกจากตัวจังหวัดกาฬสินธุ์ประมาณ 109 กิโลเมตร และเทศบาลตำบล
           ท่าคันโทมีพื้นที่ทั้งหมด 5,937.41 ไร่ ประชากรใช้พื้นที่เพื่อการเพาะปลูกประมาณ 4,000 ไร่

           เพราะสภาพของดินเป็นดินร่วนปนทรายรองรับน้ำได้ดีจึงเหมาะแก่การทำเกษตร สภาพภูมิอากาศ
           ร้อนจัดในฤดูร้อนและมีอากาศหนาวจัดในฤดูหนาว แต่เพียงระยะเวลาสั้นๆ โดยทั่วไปของ
           ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในฤดูฝนจะเริ่มตกตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมโดยจะมี

           ฝนตกหนักในเดือนสิงหาถึงเดือนกันยายนของทุกปี บางปีเผชิญกับภัยแล้ง บางปีน้ำท่วม
           ประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่เทศบาลตำบลท่าคันโท คิดเป็นร้อยละ 80 ของจำนวนประชากร




          0    สถาบันพระปกเกล้า
   386   387   388   389   390   391   392   393   394   395   396