Page 392 - kpiebook65063
P. 392
ทั้งหมด ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย และไม้ผล ประชากรในพื้นที่
เลี้ยงสัตว์ในครัวเรือนเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เช่น การเลี้ยงสุกร วัว ควาย เป็ด ไก่ ดังนั้น
อาชีพ เลี้ยงสัตว์และทำการประมง และในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลท่าคันโทมีโรงงานอุตสาหกรรม
ขนาดใหญ่และขนาดย่อย ทำให้เกิดการจ้างงานคนในพื้นที่ แรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม
ผลิตแป้งมันสำปะหลัง โรงงานสีข้าวและโรงงานน้ำดื่ม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่ตำบลท่าคันโท
อาชีพส่วนใหญ่ในเขตเทศบาลท่าคันโทต้องใช้น้ำในการทำการเกษตรและอุปโภคบริโภค
ประมาณ 730,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี รวมทั้ง โรงงานอุตสาหกรรมสูบน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมทุกวัน แต่อ่างเก็บน้ำมีพื้นที่ 600 ไร่ เก็บน้ำได้เพียง 2,440,000 ลูกบาศก์เมตร
จึงไม่เพียงพอต่อจำนวนการใช้น้ำ ประชาชนจึงร้องเรียนปัญหาเรื่องน้ำ เช่น น้ำไม่พอต่อการอุปโภค
บริโภค น้ำมีสีขุ่น เทศบาลตำบลท่าคันโทได้รับฟังปัญหา และข้อเสนอแนะของประชาชนในพื้นที่
ซึ่งปัญหาเรื่องน้ำถือเป็นปัญหาที่สำคัญอันดับแรก ที่ต้องแก้ไข เนื่องจากประชาชนในพื้นที่
ประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นส่วนใหญ่ จึงต้องเร่งแก้ไขน้ำไม่เพียงพอต่อการอุปโภค บริโภค
การเกษตร และการอุตสาหกรรม และปัญหาน้ำประปาไม่สะอาดไม่ได้มาตรฐาน ดังนั้นเทศบาล
ตำบลท่าคันโท จึงเป็นองค์กรที่ริเริ่มเริ่มในการรับฟังปัญหาและดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำ
โดยมีกระบวนการ เครื่องมือ และกลุ่มภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนนวัตกรรมทั้งหมด
14 หน่วยงาน
“ส่วนปัญหาคือการร้องเรียนในส่วนของการใช้น้ำ ปริมาณน้ำไม่พอ หรือ
น้ำดิบ ความขุ่นของน้ำกลิ่นของน้ำ กลิ่นเหม็นเน่า กลิ่นสารเคมี ส่วนของผู้ใช้น้ำ
ประชากรทางเทศบาลท่าคันโทมีอยู่โดยประมาณ 9 พันคน คิดเป็น 200 ลิตร/คน/วัน
เท่ากับ 1,800 ลูกบาศก์เมตร/วัน แต่กำลังการผลิตน้ำจะได้ประมาณ 3,360
ลูกบาศก์เมตร/วัน จะมีส่วนต่างในการใช้ดับเพลิงบ้าง รดน้ำต้นไม้ และสนามกีฬา”
(เจ้าหน้าที่กองประปา, สัมภาษณ์, 4 มีนาคม 2565) ส่วนที่ ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
เพื่อให้ประชาชนมีน้ำใช้อุปโภคบริโภค ทำการเกษตร การพาณิชย์กรรม และใช้ใน
อุตสาหกรรมอย่างเพียงพอตลอดทั้งปี และเพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ
มีมาตรฐาน มีความต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม เพื่อให้ผู้ใช้น้ำได้ใช้น้ำประปาที่เพียงพอต่อ
ความต้องการ สะอาด ปลอดภัย ตลอด 24 ชั่วโมง อีกทั้งยังเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน
ให้ตระหนักถึงการดูแลรักษาแหล่งน้ำ และใช้น้ำอย่างคุ้มค่า และยังมีการตรวจน้ำอย่างสม่ำเสมอ
ทำให้น้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ทำให้เห็นถึงความร่วมมือขององค์กรและประชาชน
สถาบันพระปกเกล้า 1