Page 394 - kpiebook65063
P. 394

3) การระบุอันตรายและประเมินความเสี่ยง (Identify hazards and assess risks)

               ขั้นตอนนี้แยกย่อยออกได้ 3 ขั้นตอน คือ

                         3.1)  ระบุอันตรายที่อาจส่งผลต่อความปลอดภัยของน้ำประปา ทั้งด้านกายภาพ

                             ชีวภาพ เคมี และกัมมันตภาพรังสี และระบุเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นแล้วส่งผลให้
                             น้ำประปาไม่สะอาดปลอดภัย เช่น เหตุการณ์น้ำท่วมปี 2554 ทำให้น้ำเน่าเสีย

                             เข้าคลองประปา

                         3.2)  ประเมินความเสี่ยงจากอันตรายในข้อ 1 โดยพิจารณาโอกาสเกิดและความรุนแรง    ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19

                             ของผลกระทบที่จะได้รับ

                         3.3)  จัดระดับความเสี่ยง เป็น ต่ำ ปานกลาง สูง และสูงมาก

                     4) กำหนดมาตรการควบคุม (Determine and validate control measures)

               เมื่อสามารถระบุอันตรายหรือเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อความสะอาดปลอดภัยของน้ำประปา รวมถึง
               ประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นแล้ว ทีมงาน WSP จะต้องพิจารณามาตรการควบคุมที่เป็นไปได้

               หรือที่มีอยู่เดิมว่าจะสามารถแก้ไข หรือช่วยลดความเสี่ยงลงได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ต้องหามาตรการ
               ควบคุมเพิ่มเติมหรือเข้มข้นกว่าเดิมจนแน่ใจว่า ทำให้น้ำประปามีความสะอาดปลอดภัย


                     5) แผนปรับปรุงประสิทธิภาพ (Develop, implement and Maintain an
               improvement plan)  การน้ำมาตรการควบคุมเพิ่มเติมมาจัดทำรายละเอียด ได้แก่ วิธีการ
               เป้าหมาย กำหนดเวลา หน่วยงานที่รับผิดชอบทรัพยากรที่ต้องใช้งบประมาณ ทั้งนี้ แผนการ

               ปรับปรุงประสิทธิภาพอาจเป็นแผนระยะสั้น ระยะกลาง หรือระยะยาว ขึ้นกับความจำเป็นเร่งด่วน
               ความยากง่าย และความพร้อมในการปฏิบัติ

                     6) กำหนดการติดตามตรวจสอบมาตรการควบคุม (Define monitoring of control              ส่วนที่   ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19

               measures) ทีมงาน WSP จะเป็นผู้กำหนดระบบการติดตามตรวจสอบมาตรการควบคุมที่มีอยู่ว่า
               ยังสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่หรือไม่ เพื่อให้ระบบติดตามตรวจสอบทำงาน

               ได้อย่างสัมฤทธิ์ผล ควรกำหนดรายละเอียดชัดเจน เช่น สิ่งที่จะตรวจสอบ วิธีการตรวจสอบ
               ความถี่ในการตรวจสอบ การทวนสอบประสิทธิภาพของ WSP (Verify the effectiveness of
               WSP) การทวนสอบประสิทธิภาพ WSP เป็นการสร้างความมั่นใจว่า WSP ยังทำงานได้อย่าง

               เหมาะสม เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าน้ำประปา สะอาด ปลอดภัย และเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค
               ตลอดเวลา กิจกรรมที่สำคัญที่จะยืนยันประสิทธิภาพของ WSP ประกอบด้วย


                         6.1) การตรวจสอบให้เป็นไปตามระเบียบ และข้อกำหนดในเรื่องคุณภาพน้ำ





                                                                              สถาบันพระปกเกล้า
   389   390   391   392   393   394   395   396   397   398   399