Page 399 - kpiebook65063
P. 399

น้ำมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ดังนั้นเทศบาลตำบลท่าคันโทจึงต้องมีการบริหารจัดการ

           น้ำที่ดี เพื่อให้มีน้ำใช้เพียงพอ สะอาด และปลอดภัย ทั้งนี้ภาคีเครือข่ายขับเคลื่อนการทำงาน
           14 หน่วยงาน ได้แก่ อำเภอท่าคันโท การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (สาขาท่าคันโท) โรงพยาบาลท่าคันโท
     ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19   เทศบาล วัดในเขตเทศบาล ชมรมผู้สูงอายุเทศบาล สภาเด็กและเยาวชนเทศบาล ศูนย์พัฒนา
           เกษตรอำเภอท่าคันโท เทศบาลตำบลท่าคันโท สาธารณสุขอำเภอท่าคันโท สถานศึกษาในเขต


           คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุเทศบาล กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน 13 ชุมชน ในเขตเทศบาล ศูนย์พัฒนาครอบครัว

           ในชุมชนเทศบาล และบริษัท ไทยวา จำกัด (มหาชน) สาขากาฬสินธ์ุ จึงได้ทำข้อตกลงร่วมกันทุกปี
           โดย การเฝ้าระวังและจัดการแหล่งน้ำดิบ แหล่งน้ำธรรมชาติ การสร้างความเข้าใจของภาคี

           เครือข่ายทั้ง 14 เครือข่าย และตระหนักถึงความรับผิดชอบในการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำและจัดการ
           แหล่งน้ำดิบร่วมกันให้พอใช้ตลอดทั้งปี โดยการทำบันทึกข้อตกลงอีกทั้งการออกประกาศข้อห้าม
           ในการทำประมง การเกษตร การอุตสาหกรรม และการป้องกันไม่ให้สารพิษหรือสิ่งเจือปน

           ไหลลงสู่แหล่งน้ำ โดย มีเครือข่ายกลุ่มเฝ้าระวังคุณภาพน้ำในทุกชุมชนเป็นผู้ประสานงานแจ้งข่าว



                       “บทบาทของเอกชน แหล่งน้ำเทศบาลท่าคันโทเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่
                 มีการใช้น้ำอยู่ 3 ส่วน 1. ใช้ผลิตประปา 2. ใช้ในการเกษตรการปลูกข้าวนาปรัง
     ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
                 3. อุตสาหกรรมการแปรรูปเกี่ยวกับมันสำปะหลัง (โรงงานไทยวา) ทางเทศบาล
                 จะมีการทำข้อตกลง MOU ทั้งสามส่วน ทั้งทางประชาชนผู้ใช้น้ำ ทางเกษตร
                 ทางอุตสาหกรรม หลักๆ 60% คือการใช้น้ำประปาของประชาชน และอีก 20%

                 ของเกษตรและอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้ประสบผลสำเร็จในการพัฒนาแหล่งน้ำ
                 น้ำไม่เคยขาด มีการบำรุงคันกั้นน้ำ ตรวจตราแหล่งน้ำ และมีการทำประมงโดยมี

                 การกำหนดให้จับปลาเป็นช่วง ๆ ไป” (เจ้าหน้าที่กองประปา, สัมภาษณ์, 4 มีนาคม
                 2565)




                 ส่วนบทบาทหน้าที่ประชาสังคมและผู้นำชุมชนร่วมกันทำบันทึกข้อตกลง (MOU) ร่วมกัน
           เฝ้าระวังคุณภาพน้ำ ช่วยกันสอดส่องดูแลไม่ให้มีผู้ใดกระทำการปล่อยน้ำเสียหรือสารเคมี

           ลงสู่แหล่งน้ำ และช่วยกันทำความสะอาดแหล่งน้ำให้มีความเป็นธรรมชาติ และประชาชนได้มี
           การจัดกลุ่มเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ โดยสร้างกลุ่ม LINE เฝ้าระวังคุณภาพน้ำ เพื่อให้ผู้ใช้น้ำแจ้ง
           รายงานคุณภาพของน้ำประปาได้ตลอดเวลา โดยที่กลุ่มเฝ้าระวังคุณภาพน้ำจะช่วยกันระบาย

           ตะกอนที่น้ำปลายสายในแต่ละชุมชน เมื่อได้มีการสังเกตพบว่าน้ำประปาปลายสายขุ่นหรือ
           มีตะกอน และเมื่อมีเหตุขัดข้องในการใช้น้ำประปาประชากรที่ใช้น้ำประปาในชุมชนจะช่วยกัน

           แจ้งข่าว ปัญหาที่พบ เช่น ท่อน้ำประปาแตกหรือชำรุด น้ำขุ่นหรือส่งกลิ่นเหม็น



               สถาบันพระปกเกล้า
   394   395   396   397   398   399   400   401   402   403   404