Page 396 - kpiebook65063
P. 396
11) การปรับปรุงแผนน้ำประปาให้ปลอดภัยหลังเกิดอุบัติการณ์ (Revise WSP following
an incident) นอกจากการทบทวน WSP เป็นระยะอย่างสม่ำเสมอแล้วถ้ามีเหตุฉุกเฉิน หรือ
อุบัติการณ์ใด ๆ ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น และอาจมีผลกระทบต่อความสะอาดปลอดภัยของน้ำประปา
หลังจากการแก้ไขเหตุนั้น ๆ แล้วต้องมีการปรับปรุงหรือแก้ไข WSP ในบางจุดให้ถูกต้องเหมาะสม
เช่น กรณีภัยแล้งส่งผล ให้เกิดภาวะน้ำกร่อยกระทบคุณภาพน้ำประปาอาจต้องทบทวน
การประเมินโอกาสและผลกระทบจากภัยแล้ง และปรับปรุงวิธีการรับมือหากเกิดเหตุซ้ำอีก
ในอนาคต ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19
กิจกรรมครั้งที่ 1
การประชุมการขับเคลื่อนรูปแบบการใช้แผนการจัดการน้ำสะอาด (Water Safety Plans)
สำหรับระบบประปาเทศบาลต้นแบบ ขั้นตอนที่ 1 - 7 ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลท่าคันโท
อำเภอท่าคันโท จังหวัดการฬสินธุ์ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 44 คน 10 หน่อยงาน เพื่อสร้าง
ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับแผนการจัดการน้ำสะอาด ทั้ง 11 ขั้นตอนก่อนที่จะดำเนิดการแบบ
Step by Step การประเมิน และวินิจฉัยระบบประปาตั้งแต่แหล่งน้ำดิบ ระบบผลิต และระบบ
จ่ายน้ำ เพื่อวิเคราะห์ปัญหาเชิงเทคนิค พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรับข้อเสนอแนะจาก
ผู้เชี่ยวชาญ มีการ Workshop เพื่อค้นหา วิเคราะห์ และระบุความเสี่ยงในงานผลิตน้ำของ
เทศบาล และจัดลำดับความเสี่ยงและหาวิธีการมาตรการในการแก้ไขป้องกันความเสี่ยงที่สำคัญ
การสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำประปา เพื่อส่งวิเคราะห์ไปยังห้องปฏิบัติการก่อนการดำเนินงาน
โดยเก็บตัวอย่างจำนวน 4 ตัวอย่าง ประกอบด้วย ต้นท่อโรงกรอง 1, 2 และปลายท่อบ้านผู้ให้น้ำ
ตามเส้นทางการจ่ายน้ำของโรงกรองทั้ง 2 แห่ง และได้มติสรุปของกิจกรรมทั้ง 2 ส่วน ดังนี้
เทศบาลตำบลท่าคันโท จัดทำแผนความเสี่ยง แก้ไขความเสี่ยงตามมาตรการ และจากคำแนะนำ
ของผู้เชี่ยวชาญ โดยได้จัดตั้งกลุ่ม Line เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารในการดำเนินงาน และจะจัด
Workshop ต่อไปประมาณเดือนพฤษภาคม 2562 ส่วนที่ ภารกิจที่ท้าทายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลังวิกฤตโควิด-19
กิจกรรมครั้งที่ 2
จากผลการดำเนินงานในระยะเวลา 6 เดือน พบว่า การขับเคลื่อนกิจกรรมนี้เป็นไปได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ เพราะปัจจัยที่สำคัญ 3 ประการคือ
1) ผู้บริหารเทศบาลให้ความสำคัญ
2) เจ้าหน้าที่เทศบาลทำงานเป็นทีม
3) ภาคีเครือข่ายทำงานเข้มแข็ง
สถาบันพระปกเกล้า