Page 390 - kpiebook65063
P. 390
ท้องถิ่น การพัฒนารูปแบบประปาท้องถิ่นคุณภาพ WSP
กับบริการ โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
สาธารณะ เทศบาลตำบลท่าคันโท อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์
ด้านการจัดการน้ำ
กฤชวรรธน์ โล่ห์วัชรินทร์ *
ภาคภูมิ พลสูงเนิน **
สฏฐภูมิ บุญมา ***
ความเป็นมา
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งอยู่ในเขตที่ราบสูงมีเนื้อที่มากที่สุดของ
ประเทศไทยร้อยละ 33.17 เทียบสัดส่วนเท่ากับหนึ่งในสามพื้นที่ทั้งหมดของ
ประเทศ ประชากรส่วนใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประกอบอาชีพทาง
เกษตรกรรมที่ต้องอาศัยน้ำเป็นหลักในการผลิตพืชผล พื้นที่ที่ได้รับน้ำ
ชลประทานมีเพียงประมาณร้อยละ 5 มีการปลูกข้าวเป็นพืชหลักโดยทั่วไป
ในที่ลุ่ม ส่วนพืชไร่จะปลูกกันมากในที่ดินที่มีการระบายน้ำดี พืชไร่ที่สำคัญ
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ มันสำปะหลังและอ้อย ผลผลิตทาง
การเกษตรส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับปริมาณและการกระจายของน้ำฝน และ
คุณภาพของดิน สำหรับภัยแล้งในประเทศไทยส่วนใหญ่เกิดจากฝนแล้ง
และทิ้งช่วงซึ่งฝนแล้งเป็นภาวะปริมาณฝนตกน้อยกว่าปกติหรือฝนไม่ตกต้อง
ตามฤดูกาลโดยแต่ละปีจะเกิดขึ้นได้ 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงฤดูหนาวต่อเนื่อง
ถึงช่วงฤดูร้อน ความแปรปรวนของสภาพอากาศที่ไม่แน่นอนในภาค
* ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร., รองคณบดีฝ่ายวิชาการ วิจัย และการต่างประเทศ และ
อาจารย์ประจำวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
** นักวิจัยประจำวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
*** อาจารย์พิเศษ และนักวิจัยโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สถาบันพระปกเกล้า 9