Page 385 - kpiebook65063
P. 385

ปี 2563 และปี 2564 ปริมาณขยะเปลือกไข่เป็ดเหลืออยู่เป็นศูนย์ เนื่องจากนำมาใช้ประโยชน์

           อย่างเต็มที่

     ท้องถิ่นกับภารกิจที่ท้าทายหลังวิกฤตโควิด-19   เกษตรกรรม ซึ่งปุยที่ได้จากเปลือกไข่เป็ดมีคุณค่าต่อการปรับปรุงบำรุงดินและช่วยให้พืชเศรษฐกิจ
                 การกำจัดขยะเปลือกไข่เป็ดดังกล่าวมิใช่เป็นการทำลายทิ้ง แต่เปลี่ยนสภาพเปลือกไข่เป็ด
           ให้เป็นวัตถุดิบเพื่อนำไปแปรรูปเป็นสินค้าที่หลากหลาย ตั้งแต่ ปุยที่ใช้ในแปลงนาและระบบ



           ทั้งนาข้าว พืชสวนชนิดต่างๆ เจริญเติบโตได้เป็นอย่างดีและทดแทนการใช้ปุยเคมีได้เป็นอย่างดี
           ส่งผลทำให้เกษตรกรลดต้นทุนในการทำการเกษตร และลดการสัมผัสกับสารเคมีในปุยเคมีได้อีก
           ทางหนึ่ง


                 นอกจากนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลนาพันสามยังจัดอบรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายให้
           ชาวบ้านเรียนรู้การแปรรูปเปลือกไข่เป็ดเป็นสินค้าต่าง ๆ เพื่อเพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือน อาทิ

           การแปรรูปเปลือกไข่เป็ดเป็นพวงกุญแจ สบู่เปลือกไข่เป็ดต้านโควิด 19 แจกันดอกไม้จาก
           เปลือกไข่เป็ด สวนถาดประดับตกแต่งภายในอาคาร กรอบรูปลายเปลือกไข่เป็ด เป็นต้น

           ซึ่งกิจกรรมต่าง ๆ เหล่านี้เป็นกิจกรรมที่องค์การบริหารส่วนตำบลนาพันสาม จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
           และนอกจากเป็นการฝึกอาชีพเสริมให้แก่ชาวบ้านแล้ว กิจกรรมนี้ยังเป็นกิจกรรมที่ทำให้ชาวบ้าน
           มาพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันในลักษณะการประชุมกลุ่มย่อยกันอย่างไม่เป็นทางการ
     ส่วนที่   บันทึกเรื่องเด่นรางวัลพระปกเกล้า: ท้องถิ่นกับบริการสาธารณะ
           และกลายเป็นพื้นที่สำคัญที่ทำให้ชาวบ้านได้มีส่วนร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลนาพันสาม
           ในการบริหารงานท้องถิ่น จนนับถึงปี 2565 องค์การบริหารส่วนตำบลนาพันสามได้ผลักดัน

           ให้ตำบลนาพันสามกลายเป็นตำบลส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านศูนย์เรียนรู้ และพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น
           ที่รองรับนักท่องเที่ยวทั่วไปที่สนใจเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น และเลือกซื้อสินค้าแปรรูปจาก
           เปลือกไข่เป็ด ทำให้ชาวบ้านมีรายได้เสริมและให้ความร่วมมืออย่างดียิ่งกับองค์การบริหาร

           ส่วนตำบลนาพันสามจนทำให้องค์การบริหารส่วนตำบลนาพันสามได้รับรางวัลพระปกเกล้า
           ในหลากหลายประเภท ซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดเล็กที่ได้รับรางวัลใหญ่ระดับ

           ประเทศเทียบเท่ากับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ของประเทศไทย


           บทสรุปความสำเร็จ


                 แม้ว่าองค์การบริหารส่วนตำบลนาพันสามจะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีขนาดเล็ก
           และมีงบประมาณน้อยมากในแต่ละปี (เฉลี่ยปีละ 28 ล้านบาท) ซึ่งไม่เพียงพอต่อการบริหารงาน

           ท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลนาพันสามมิได้ใช้งบประมาณมาเป็น
           ข้อจำกัดในการพัฒนาพื้นที่เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ความรับผิดชอบ






               สถาบันพระปกเกล้า
   380   381   382   383   384   385   386   387   388   389   390